การรับรู้ต่อการเรียนจริยธรรมวิชาชีพแพทย์ ของนักเรียนแพทย์วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

กันยลักษณ์ กิตตินนท์
แสงแข ชำนาญวนกิจ
ประอร พิมพายน
ปรียาพันธ์ แสงอรุณ

Abstract

บทนำ: วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (วพม.) เป็นสถาบันผลิตแพทย์ที่มีการเรียนการสอนหลักสูตรตามข้อกำหนดแพทยสภา โดยการสอดแทรกเนื้อหาเรื่องจริยธรรมวิชาชีพแพทย์  เพื่อเป็นแนวทางในการยึดปฏิบัติวิชาชีพแพทย์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นที่ยอมรับนับถือของสังคม และผดุงไว้ซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการรับรู้ความสำคัญของการเรียนจริยธรรมวิชาชีพแพทย์ในนักเรียนแพทย์ชั้นคลินิก รูปแบบการศึกษา:  เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง เชิงสำรวจ วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในนักเรียนแพทย์ชั้นคลินิก ปีที่ 4-6  โดยแจกแบบสอบถามเนื้อหาเกี่ยวกับการรับรู้ต่อความสำคัญ  ความสนใจและวิธีการเรียนการสอนที่น่าสนใจในวิชาจริยธรรมวิชาชีพแพทย์ที่ได้เรียนมาในชั้นปรีคลินิก โดยวัดออกมาในรูปแบบ Likert scale ผลการศึกษา: นักเรียนแพทย์ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 109 คน จาก 174 คน เป็นชาย 74 คน (ร้อยละ 67.9) นับถือศาสนาพุทธ 102 คน (ร้อยละ 93.6) นักเรียนแพทย์รับรู้ว่าจริยธรรมวิชาชีพแพทย์มีความสำคัญต่อการประกอบวิชาชีพแพทย์ในอนาคต (mean 9.10 ±1.18 คะแนน)  วิธีการสอนที่เห็นว่าเป็นวิธีที่ดีสามอันดับแรกคือ การเป็นแบบอย่างที่ดีของอาจารย์แพทย์, การสอนจากผู้ป่วยจริง และการมีส่วนร่วมในการประชุมทีมผู้รักษากับผู้ป่วยและญาติ  หัวข้อจริยธรรมวิชาชีพแพทย์ที่สนใจสาม อันดับแรกคือ การเปิดเผยความจริงแก่ผู้ป่วย การเป็นมืออาชีพ  และการขอความยินยอมเพื่อรับการรักษา สรุป: นักเรียนแพทย์ วพม. รับรู้ความสำคัญต่อจริยธรรมวิชาชีพแพทย์ว่า สำคัญต่อการประกอบวิชาชีพแพทย์ในอนาคตช่วยให้เป็นแพทย์ที่ดีในอนาคตได้ โดยข้อมูลเรื่องหัวข้อที่สนใจและวิธีการสอนที่นักเรียนแพทย์ต้องการจะมีประโยชน์สำหรับนำไปพัฒนาหลักสูตรการเรียนจริยธรรมวิชาชีพแพทย์ต่อไปในอนาคต

PERCEPTIONS OF MEDICAL STUDENTS ON MEDICAL ETHICS TEACHING AT PHRAMONGKUTKLAO COLLEGE OF MEDICINE

Background: Phramongkutklao College of Medicine is the only military medical school in Thailand. The medical cadet moral and ethical modules are integrated through the six years of medical program to enhance medical and military professions

Objectives: To determine perceptions of medical students on medical ethics teaching during pre-clinical years Study design: Cross-sectional survey study Methodology: We developed a self-administered questionnaire using Likert scale to determine their perceptions on medical ethics, preferences of teaching methods and topics of interest in medical ethics courses of pre-clinical curriculum. The questionnaire was distributed to the 4th, 5th and 6th year medical students at the end of their clinical rotations. Results: There were 109 of 174 (62.64%) medical students responded to the questionnaire. 74 (67.9%) were male, and 102 (93.6%) were Buddhism. Most of them considered teaching of medical ethics important to help them to practice professionally (mean 9.10 ±1.18). The majority agreed that the best teaching methods of medical ethics were teacher as a role model, bedside teaching and team approach to family counseling, respectively. The topics mostly interested were truth telling, professionalism and informed consent. Conclusions: The survey in medical students affirmed the importance of medical ethics education in medical school and expressed preferences for teaching method and topics of interest. These results will help us to adjust the ethical modules and training methods for medical students both during pre-clinical and clinical years.

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)