บทบาทของ Peritoneal Scintigraphy ในการวินิจฉัยทางเชื่อมต่อจากช่องท้อง ไปยังช่องอก และจากช่องท้องไปถุงอัณฑะ ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

วรธิดา ไกรฤกษ์
ตรีรัตน์ บุญญอัศดร
ศุภขจี แสงเรืองอ่อน

Abstract

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการมีรูเชื่อมต่อจากช่องท้องไปยังช่องอก (peritoneopleural communication, PPC) และจากช่องท้องไปถุงอัณฑะ (peritoneoscrotal communication, PSC) ด้วยการตรวจ peritoneal scintigraphy ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เครื่องมือและวิธีการวิจัย : ศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาโดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง (Descriptive retrospective study) ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยที่สงสัยการมีรูเชื่อมต่อจากช่องท้องไปยังช่องอก และจากช่องท้องไปถุงอัณฑะ ที่ได้รับการตรวจด้วย peritoneal scintigraphy ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในช่วงระยะพ.ศ.2542 ถึง พ.ศ.2557 อายุระหว่าง 19-87 ปี จำนวนทั้งสิ้น 62 ราย จากนั้นคำนวณหาสัดส่วนของผู้ป่วยที่มีรูเชื่อมต่อจากช่องท้องไปยังช่องอก และจากช่องท้องไปถุงอัณฑะ ผลการวิจัย : ผู้ป่วย 62 ราย แบ่งเป็นเพศชาย 35 ราย (56.5 %) เพศหญิง 27 ราย (43.5 %) อายุเฉลี่ย 57.3  ปี แบ่งเป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัย PPC 46 ราย และ PSC 16  ราย ผลการตรวจเพื่อวินิจฉัย PPC พบผลบวก 26 ราย (56.5 %) โดยพบที่ข้างขวา 21 ราย (80.8 %) พบที่ข้างซ้าย 3 ราย (11.5 %) และพบทั้งสองข้างเพียง 2 ราย (7.7%)  ผลการตรวจไม่พบ PPC 20 ราย (43.5 %) สำหรับการตรวจเพื่อวินิจฉัย PSC นั้น พบผลบวกทั้งหมด 11 ราย (68.8%) จาก 16 ราย  โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มาตรวจหา PSC จะเป็นผู้ที่ได้รับการล้างไตทางท้อง (peritoneal dialysis หรือ PD) ถึง 12 ราย (75%) ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะได้รับการใส่ isotope ผ่านทาง Tenckhoff  catheter ที่ใช้สำหรับ peritoneal dialysis นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่ตรวจพบ PSC มีเพียง 1 รายเท่านั้นที่เป็นเพศหญิง (9.1 %) สรุป : peritoneal scintigraphy เป็นวิธีการตรวจเพื่อวินิจฉัย PPC และ PSC ที่ปลอดภัย สะดวก ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อย จึงสามารถให้ทำซ้ำได้ และมีผลช่วยในการตัดสินใจเลือกวิธีรักษา แต่ยังคงมีข้อจำกัด คือการตรวจนี้ ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่ชัดเจนของรูรั่วได้

Role of Peritoneal Scintigraphy in Diagnosis of Peritoneopleural Communication and Peritoneoscrotal Commuication at Phramongkutklao Hospital

Objective: To calculate incidence rate of peritoneal scintigraphy for the evaluation of peritoneopleural communication (PPC) and peritoneoscrotal communication (PSC) at Phramongkutklao hospital. Methods: This is a descriptive retrospective study of patients who were sent for peritoneal scintigraphy to evaluate PPC and PSC during 2542-2557 BE. Then calculate the rate of positive result for PPC and PSC. Results: Mean age of 62 patients (35 men and 27 women) was 57.3 years (range from 19-87 years old).  From 46 patients who were sent for evaluate PPC, 26 scans were positive with 21 (80.8%) for right-side, 3 (11.5%) for left-sided and 2 (7.7%) for bilateral PPC. Sixteen scans were obtained to evaluate inguinal or genital swelling, and 11 (68.8%) of these had cintigraphic evidence for PSC. Twelve patients (75%) who were sent to evaluate PSC were undergoing peritoneal dialysis (PD).  Thus the radioisotope was administered via Tenckhoff catheter in PD patients. Only one patient (9.1%) who demonstrated PSC was a female. Conclusion: Peritoneal scintigraphy is a useful, noninvasive and convenient study in the evaluation of PPC and PSC and has the role for treatment decision.  Limitation of this study is inability to identify the exact point of communication.

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)