ปัจจัยทำนายการป้องกันการบาดเจ็บจากการลดความกดอากาศในผู้ปฏิบัติการใต้น้ำกองทัพเรือ

Main Article Content

สุธาสินี ศรีนุ่น
สมเจต บุญสิงห์

Abstract

ความเป็นมา การบาดเจ็บจากการลดความกดอากาศในผู้ปฏิบัติงานใต้น้ำมีความรุนแรงถึงขั้นพิการและเสียชีวิต การศึกษาสถานการณ์การปฏิบัติงานและภาวะสุขภาพของบุคลากรกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญ เพื่อนำข้อมูลมาวางแผนการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนพัฒนาระเบียบข้อบังคับการปฏิบัติงานใต้น้ำวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการป้องกันการบาดเจ็บจากการลดความกดอากาศของผู้ปฏิบัติการใต้น้ำกองทัพเรือ วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา โดยศึกษาลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะการทำงาน และสภาพแวดล้อมการทำงานใต้น้ำกับการป้องกันการบาดเจ็บจากการลดความกดอากาศในผู้ปฏิบัติการใต้น้ำกองทัพเรือ จำนวน 263 คน โดยใช้แบบสอบถาม และประเมินภาวะสุขภาพจากดัชนีมวลกาย ระดับความดันโลหิต ผลการศึกษา พบว่าผู้ปฏิบัติการใต้น้ำกองทัพเรือส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 38.4 และอายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 37.3 เป็นนายทหารสัญญาบัตรร้อยละ 41.8 ทหารประทวนร้อยละ 58.2 สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาร้อยละ 63.5 ปฏิเสธโรคประจำตัวร้อยละ 95.4 มีประวัติดื่มสุราร้อยละ 62.4 และมีประวัติสูบบุหรี่ร้อยละ 16.7 ปฏิบัติงานใต้น้ำแบบยุทธวิธีทางทหารร้อยละ 77.2 โดยการดำน้ำแบบพักลดความกดอากาศ ร้อยละ 90.1 มีระดับความลึกโดยเฉลี่ยที่ 134 ฟุตน้ำทะเล (SD = 26) ส่วนใหญ่เคยปฏิบัติงานใต้น้ำที่ระดับความลึก 120 ฟุตน้ำทะเล ร้อยละ 56.3 ทำงานใต้น้ำมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 68.1 จากการประเมินภาวะสุขภาพ พบภาวะน้ำหนักเกิน (23.00-24.99) ร้อยละ 33.1 ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 89.4 ผลคะแนนรวมการป้องกันการบาดเจ็บจากการลดความกดอากาศมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 54.27 (Max = 63, Min = 42, SD = 4.03) มีระดับคะแนนอยู่ในช่วง 57-50คะแนนมากที่สุดร้อยละ 55.5 ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) พบว่าตัวแปรที่สามารถทำนายการป้องกันการบาดเจ็บจากการลดความกดอากาศได้ มี 3 ตัวแปร ได้แก่ กลุ่มอายุ ระดับความลึกของน้ำ และดัชนีมวลกาย สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของคะแนนรวมการป้องกันการบาดเจ็บจากการลดความกดอากาศได้ในระดับน้อยร้อยละ 8 (R2 = .08, p < 0.05) เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณ พบว่าระดับความลึกของน้ำสามารถทำนายคะแนนรวมการป้องกันการบาดเจ็บจากการลดความกดอากาศได้มากที่สุด สรุป แม้ว่าในการศึกษาครั้งนี้ พบว่าตัวแปรที่สามารถทำนายการป้องกันการบาดเจ็บจากการลดความกดอากาศได้ มีอำนาจการทำนายในระดับน้อย แต่ผลการศึกษาทำให้ทราบถึงสถานการณ์ภาวะสุขภาพ และข้อจำกัดในการปฏิบัติงานใต้น้ำของบุคลากรกลุ่มนี้ ดังนั้นข้อมูลที่ได้จึงมีประโยชน์ต่อการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ และการวางแผนจัดบริการด้านสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงาน โดยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ได้จากการวิจัย และให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อภาวะสุขภาพจากการทำงานภายใต้ความดันบรรยากาศสูง เพื่อเพิ่มความตระหนักในการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับการทำงานใต้น้ำ ลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน

Predictive Factors of Prevention of Decompression Sickness amongUnderwater Operators of the Royal Thai Navy

Background: Decompression sickness among underwater operators was severe to the extent that it could result in disabilities and mortality. Therefore, it was essential to study the operating situations and health status of these personnel so as to obtain related information and plan how to perform health surveillance and ensure safety at work, as well as to develop the regulations of underwater operations. Objectives: This study aimed to explore predictive factors of prevention of decompression sickness among underwater operators of the Royal Thai Navy. Material and Methods: This study was a descriptive research which examined the relationships between demographic data, working characteristics, underwater working environment, and prevention of decompression sickness among 263 underwater operators of the Royal Thai Navy. The data were collected by using questionnaires, and the health status was evaluated from body mass index and blood pressure level. Results: The results of the study revealed that most underwater operators of the Royal Thai Navy accounting for 38.4% aged 31-40.37.3% aged 41-50. 41.8% were commissioned officers. 58.2% were noncommissioned officers. 63.5% graduated a diploma. 95.4% had no congenital disease. 62.4% had a history of alcohol drinking. 16.7% had a history of smoking. 77.2% performed military strategic underwater operations. 90.1% experienced diving safety stops. An average depth was 134 feet below sea level (SD=26). The majority of them accounting for 56.3% used to carry out underwater operations down to 120 feet below sea level. 68.1% used to have an experience in underwater operations for over 10 years. Based on the health status evaluation, 33.1% were overweight (23.00-24.99). 89.4% had a normal blood pressure range. Total mean scores of prevention of decompression sickness were 54.27 (Max =63, Min = 42, SD= 4.03). Scores of the majority of 55.5% ranged from 57-50 points. The stepwise multiple regression analysis found that there were 3 predictive factors of prevention of decompression sickness, namely, age group, water level ,and body mass index, all of which could jointly explain total score variations of prevention of decompression sickness at a low level (8%) (R2=.08, p<0.05).Considering the regression coefficient, it was found that water level could predict total scores of prevention of decompression sickness most effectively. Conclusion: Although this study reported that the predictive power of the said factors was at a low level, the results of the study revealed the health status situation and restrictions of underwater operations among these personnel.  Therefore, the findings were beneficial to the health status surveillance and healthcare planning for operators through providing information acquired from the study and knowledge on impacts of operations under high atmospheric pressure on health status so as to raise awareness of complying with regulations of underwater operations and to mitigate risks of work-related diseases and injuries.

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)