ผลกระทบจากภาวะ delay graft function ต่อระดับความเข้มข้นต่ำสุดของยาทาโครลิมุสในเลือดต่อขนาดยาในวันที่ 3 หลังจากปลูกถ่ายไต
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ ภาวะ delay graft function อาจส่งผลต่อระดับยาทาโครลิมุสในเลือดในระยะแรกหลังปลูกถ่ายไต วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบจากภาวะ DGF ต่อระดับความเข้มข้นต่ำสุดของยาทาโครลิมุสในเลือดต่อขนาดยาในวันที่ 3 หลังปลูกถ่ายไต วิธีการศึกษา การศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยปลูกถ่ายไตชาวไทย 151 คน ที่ได้รับยาทาโครลิมุสในขนาด 0.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน 1 ครั้ง ตามด้วย 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทุก 12 ชั่วโมง แล้ววัดระดับยาในเลือดก่อนรับประทานยาในวันที่ 3 ผลการศึกษา พบผู้ป่วยกลุ่มที่เกิด DGF มีระดับความเข้มข้นต่ำสุดของยาทาโครลิมุสในเลือดต่อขนาดยาสูงกว่ากลุ่มที่ไม่เกิด DGF [101.79 (IQR: 60.15, 132.09) เทียบกับ 64.69 (IQR: 42.85, 97.70) นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรต่อมิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน; p=0.008] วิจารณ์และสรุป ผู้ป่วยที่เกิด DGF มีระดับความเข้มข้นต่ำสุดของยาทาโครลิมุสในเลือดต่อขนาดยาในวันที่ 3 หลังปลูกถ่ายไตสูงกว่ากลุ่มที่ไม่เกิด DGF อย่างมีนัยสำคัญ
Impact of delay graft function on dose normalized tacrolimus trough concentration on day 3 post-kidney transplantation
Abstract: Delayed graft function may influence tacrolimus concentration early after kidney transplantation. Objective: To determine the impact of DGF on dose-normalized concentration of tacrolimus on day 3 after kidney transplantation. Methods: A retrospective study in 151 Thai kidney transplant recipients who received tacrolimus 0.1 mg/kg single dose, then 0.05 mg/kg every 12 hours. Whole blood concentration of tacrolimus was measured before the morning dose of day 3. Results: Patients with DGF had higher dose-normalized trough concentration of tacrolimus than those without DGF [101.79 (IQR: 60.15, 132.09) vs. 64.69 (IQR: 42.85, 97.70) ng/ml per mg/kg/day; p=0.008]. Conclusion: On day 3 post-kidney transplantation, patients with DGF had significance higher dose-normalized trough concentration of tacrolimus than those without DGF.