The Optimal Cut-off Points of Waist Circumference for Identification of Metabolic Syndrome in Royal Thai Army Personnel in Bangkok and Suburban
Main Article Content
Abstract
Objective: To determine the optimal cut-off points of waist circumference (WC) for identification of metabolic syndrome (MetS) in Royal Thai Army (RTA) personnel. Methods: The design of this study was a cross sectional research conducted with 2,809 samples (1,549 males and 1,260 females) aged 35-60 years old. The MetS is defined according to Joint Interim Statement (JIS) criteria. WC was measured horizontally at the umbilicus level. Data collection was by using existing annual health checkup data in the fiscal year 2014 from Armed Forces Research Institute of Medical Sciences (AFRIMS). Receiver operating characteristic (ROC) curve analysis was used for identifying the cut-off points of WC. Results: The WC optimal cut-off points for detection of the MetS in male were 82.5 cm (sensitivity 81.9% and specificity 43.2%) and in female were 77.5 cm (sensitivity 81.3% and specificity 53.1%). Conclusion: WC is potential as screening tools for classifying MetS. RTA personnel should take care of their health by receiving annual health checkup every year and follow-up the results. Their WC can be self-measured and prevention of MetS with lifestyle changes; weight loss, improved diet, and regular physical exercise should be performed.
การหาจุดตัดที่เหมาะสมของเส้นรอบวงเอวเพื่อบ่งชี้ถึงภาวะเมตาบอลิคซินโดรมในกำลังพลกองทัพบกสังกัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
วัตถุประสงค์ เพื่อหาจุดตัดที่เหมาะสมของเส้นรอบวงเอวในการบ่งชี้ภาวะเมตาบอลิคซินโดรมในกำลังพลกองทัพบก วิธีการ การศึกษาแบบภาคตัดขวางโดยใช้ข้อมูลการตรวจสุขภาพประจำปีจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร ในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ถึง 30 กันยายน 2557 กำลังพลอายุตั้งแต่ 35-60 ปี จำนวนทั้งหมด 2,809 คน การวินิจฉัยภาวะเมตาบอลิคซินโดรมใช้เกณฑ์ของ Joint Interim Statement และหาจุดตัดที่เหมาะสมของเส้นรอบวงเอวโดยใช้การวิเคราะห์ Receiver operating characteristic curve (ROC) ผลการวิจัย จากการวิเคราะห์ ROC พบว่าจุดตัดของเส้นรอบวงเอวที่เหมาะสมในการบ่งชี้ภาวะเมตาบอลิคซินโดรมกำลังพลชายคือ 82.5 ซม. (ความไวร้อยละ 81.9 และความจำเพาะร้อยละ 43.2) และกำลังพลหญิงคือ 77.5 ซม. (ความไวร้อยละ 81.3 และความจำเพาะร้อยละ 53.1) สรุป การวัดเส้นรอบวงเอวสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือคัดกรองเบื้องต้นสำหรับภาวะเมตาบอลิคซินโดรมได้ โดยกำลังพลสามารถทำได้ด้วยตนเองเพื่อเป็นการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดภาวะเมตาบอลิคซินโดรม