ภาวะแทรกซ้อนในระยะเฉียบพลันและในระยะยาวที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีสามมิติแบบปรับความเข้มในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลามเฉพาะที่

Main Article Content

เกศสุดา เจียรพสุอนันต์
ประมุข พรหมรัตนพงศ์
ศุภขจี แสงเรืองอ่อน

Abstract

ความเป็นมา: มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคมะเร็งที่พบมากในผู้ชายและมีแนวโน้มจะพบมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากนั้นมีหลากหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดหรือการฉายรังสีซึ่งให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกัน การฉายรังสีนั้นเป็นการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากได้ทุกระยะและเนื่องจากเทคโนโลยีและเทคนิคการฉายรังสีมีการพัฒนาเจริญรุดหน้าเป็นอย่างมากทำให้ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีมีอัตราลดลงเป็นอย่างมาก แต่การฉายรังสีแบบสามมิติแบบปรับความเข้มยังถือเป็นเทคนิคใหม่ที่ได้มีการนำมารักษาในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากในประเทศไทยและยังไม่เคยมีผู้ทำการศึกษาภาวะแทรกซ้อนในระยะเฉียบพลันและในระยะยาวที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีสามมิติแบบปรับความเข้มวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาภาวะแทรกซ้อนในระยะเฉียบพลันและในระยะยาว ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีสามมิติแบบปรับความเข้ม (IMRT) ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลามเฉพาะที่ ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาโดยศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลามเฉพาะที่ที่เข้ามารับการรักษาด้วยการฉายรังสีสามมิติแบบปรับความเข้มในแผนกรังสีรักษาโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในห้วง มกราคม 2553 ถึง มกราคม 2555 เพื่อศึกษาภาวะแทรกซ้อนในระยะเฉียบพลันและในระยะยาวของระบบทางเดินปัสสาวะและระบบทางเดินอาหารหลังได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีสามมิติแบบปรับความเข้มทั้งหมด 45 คน ผลการศึกษา: ผลข้างเคียงในระยะเฉียบพลัน ที่พบมากที่สุดคือ ความรุนแรงระดับเกรด 1 ของระบบทางเดินปัสสาวะคือร้อยละ 57.8 รองลงมาคือความรุนแรงระดับเกรด 1 ของระบบทางเดินอาหารคือร้อยละ 37.8 ผลข้างเคียงในระยะยาวที่พบมากที่สุดคือ ความรุนแรงระดับเกรด 1 ของระบบทางเดินปัสสาวะร้อยละ 26.7 และ ความรุนแรงระดับเกรด 2 ของระบบทางเดินอาหาร ร้อยละ 6.7 ส่วนความรุนแรงระดับเกรด 3 หรือสูงกว่านั้นไม่พบในการศึกษานี้ ในขณะที่ ร้อยละ 22.2 และร้อยละ 64.4 ไม่พบผลข้างเคียงทั้ง 2 ระบบในระยะเฉียบพลันและระยะยาวตามลำดับ สรุป:  การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากโดยวิธีการฉายรังสี 3 มิติแบบปรับความเข้มนั้นมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินปัสสาวะและทางเดินอาหารในระดับต่ำเท่านั้น คือเกรด 1-2 ทั้งในระยะเฉียบพลันและระยะยาว

Acute and late complication after intensity-modulated radiation therapy for locally advanced prostate cancer patients

Background: Prostate cancer is very common malignancy in men. Multiple treatment options (surgery and radiation therapy) are available for patients with localized prostate cancer, all with equivalent biochemical outcome.  External beam radiation is the most utilized radiotherapy modality used in the treatment of prostate cancer. Recently, the development of the intensity modulated radiotherapy (IMRT) has been shown to be a reasonable option to deliver higher radiation doses to prostate cancer patients, with acceptable low rates of complications. Objectives: To report acute and late gastrointestinal (GI) and genitourinary (GU) complications of patients treated with intensity-modulated radiation therapy (IMRT) in localized prostate cancer patients. Materials and Methods: This study presents a retrospective evaluation of the acute and late gastrointestinal (GI) and genitourinary (GU) complications following the technical implementation of IMRT, for the treatment of localized prostate cancer patients. Forty five patients were treated with IMRT between January 2010 and January 2012 at radiotherapy department, Phramongkutklao hospital. Results: Of the patients, The Radiation Therapy Oncology Group (RTOG) grade 1 GU and RTOG grade 1 GI complications were reported as the maximum acute complications in 57.8 % and 37.8 % of the patients, respectively. There were 26.7% and 6.7% developed RTOG grade 1 of late GU and RTOG grade 2 late GI complications, respectively. The rest of patients showed 22.2% and 64.4% are free of any acute and late complications. There was no other grade 3 or higher acute and late GI / GU complications. Conclusions: Intensity modulated radiotherapy (IMRT) induces mild GI and GU (grade 1-2) complications, but can be tolerated with acceptable morbidity.

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)