ความชุกของการติดเชื้อเรื้อรังและภาวะภูมิคุ้มกันต่อโรคไวรัสตับอักเสบบีในบุคลากรสถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า บริการปรึกษาและอาชีวอนามัย

Main Article Content

ชัยพล บัณฑิตสิงห์
ดุสิต จันทยานนท์
บุญเติม แสงดิษฐ
ชาติชาย ภูริโภไคย

Abstract

ความเป็นมา: บุคลากรทางการแพทย์มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เนื่องจากมีโอกาสสัมผัสเลือดและสิ่งคัดหลั่งจากผู้รับบริการและอุบัติเหตุจากเข็มทิ่มตำ ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน บุคลากรสถาบันพยาธิวิทยา (สพธ.) มีความเสี่ยงดังกล่าว วัตถุประสงค์: ศึกษาความชุกของการติดเชื้อเรื้อรังและภาวะภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี เพื่อให้บริการปรึกษา และวางแผนการฉีดวัคซีนแก่บุคลากร สพธ. วิธีการ: บุคลากรได้รับการเจาะเลือดตรวจ HBsAg และ และ anti-HBs ผู้ที่ตรวจพบ HBsAg ได้รับการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงพร้อมทั้งบริการปรึกษา และให้ไปรับบริการตรวจเพิ่มเติมจากแพทย์โรคทางเดินอาหาร ผู้ที่ตรวจไม่พบ HBsAg และไม่มีภูมิคุ้มกันได้รับการฉีดวัคซีน ผลการศึกษา:  บุคลากรได้รับการตรวจเลือด 165 ราย เป็นชาย 100 ราย หญิง 65 ราย อายุ 21 – 60 ปี (อายุเฉลี่ย 40.2±10.5 ปี) ผู้ที่มีผลบวกของ HBsAg ในชาย หญิงและทั้ง 2 เพศ เท่ากับร้อยละ 9.0 (9/100), 0.0 (0/65) และ 5.4 (9/165)  ตามลำดับ เมื่อแยกตามความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานผู้ที่มีผลบวกของ HBsAg ในกลุ่มเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำเป็นร้อยละ 8.1 (7/86)  และ 2.5 (2/79)  ตามลำดับ ผู้ที่มีผลบวกของ anti-HBs (> 10 IU/L) ในชาย หญิงและทั้ง 2 เพศ เท่ากับร้อยละ 58.0 (58/100), 50.7 (33/65) และ 55.2 (91/165)  ตามลำดับ มีบุคลากรที่มีผลลบต่อทั้ง HBsAg และ anti-HBs เป็นชาย 40 ราย หญิง 31 ราย รวม 71 ราย (ร้อยละ 43) ซึ่งได้รับการฉีดวัคซีนโดยพิจารณาจากความเสี่ยงในการทำงาน 45 ราย  เมื่อติดตามไป 2 ปี พบว่าบุคลากรที่ติดเชื้อเรื้อรังได้พบแพทย์โรคทางเดินอาหารแล้ว 5 ราย (ร้อยละ 55.6) และได้รับยาต้านไวรัสแล้ว 4 ราย (ร้อยละ 80.0)  ผู้ได้รับการฉีดวัคซีนมีภูมิคุ้มกันในระดับที่ป้องกันโรคได้ 43 ราย (ร้อยละ 95.6 ) และคณะกรรมการอาชีวอนามัยของ สพธ. ได้จัดการอบรมและกำหนดมาตรการป้องกันและดูแลผู้ถูกเข็มตำขณะปฏิบัติงานแล้ว  สรุป: ความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีแบบเรื้อรังและภาวะภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบีในบุคลากร สพธ.เป็นร้อยละ 5.4 และ 55.2 ตามลำดับ บุคลากรที่ติดเชื้อเรื้อรังมากกว่าครึ่งหนึ่งได้รับการดูแลจากแพทย์โรคทางเดินอาหารแล้ว  บุคลากรร้อยละ 43 ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคจำนวน 45 ราย และมีภูมิคุ้มกันในระดับที่ป้องกันโรคได้ร้อยละ 95.6  ข้อมูลเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการกำหนดนโยบายการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบบีและบริการอาชีวอนามัยสำหรับกำลังพล สพธ.

Prevalence of Chronic Hepatitis B Virus Infection and Preventable Immunity among Personnel of Army Institute of Pathology, Phramongkutklao Medical Center: Counseling and Occupational Health Service

Background: Medical personnel are at high risk for hepatitis B virus (HBV) infection because they may contact blood and secretions from their customers and experience accidental needle stick injuries. This disease can be prevented by hepatitis B (HB) vaccination. Personnel of Army Institute of Pathology (AIP) are also at high risk. Objectives: The study of prevalence of chronic hepatitis B virus infection and immune persons among them was done for counseling service to the ones with chronic hepatitis B (CHB) and HB immunization for the non-immune ones. Methods: All AIP personnel were tested for HBsAg and anti-HBs in 2011. The anti-HBs more than 10 IU/L was considered as positive for HBV protection or immune persons. The ones with CHB will be asked for their risks and counseled to receive proper treatment from gastroenterologists. The non-immune ones receive HB vaccination. The follow up of the ones with CHB and the vaccinated ones was done in 2 years. Results: 165 AIP personnel,  100 men and 65 women, aged 21-60 years (average 40.2 + 10.5 years), participated in the study. The prevalence of CHB among men, women and all personnel were 9% (9/100), 0% (0/65) and 5.4% (9/165), respectively. The prevalence of CHB among high risk and low risk persons were 8.1 (7/86), and 2.5 (2/79), respectively. The prevalence of HBV immune among men, women and all personnel were 58.0% (58/100), 50.7% (33/65) and 55.2% (91/165), respectively. The prevalence of of HBsAg-negative with anti-HBs-negative personnel among men, women and all were 40.0% (40/100), 47.7% (31/65) and 43.0% (71/165), respectively. From the 2 year follow up, 5 persons with CHB (55.6%) have met the gastroenterologists and 4 have been treated with antiviral drugs. 45 non-immune persons were HB vaccinated and 43 (95.6%) turned to protective immunity. Conclusions: The prevalence of CHB and immune persons among AIP personnel was 5.4% and 55.2%, respectively. They are similar to general healthcare workers in other institute, but no female persons with CHB. Around more than half of the persons with CHB have been taken care by gastroenterologists. There were 43% of personnel who have not enough immunity for HBV protection. 45 of them were vaccinated according to their work-related risks and the immunity of 95.6% of them turned to protective level. These findings provided a basis for HBV infection prevention and occupational health policy among AIP personnel. 

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)