การสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินจากเสียงในโรงซักรีด โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

ภูษิต เฟื่องฟู
ช่อจิต หรั่งศิริ
วิโชติ บุญเปลี่ยน
สมถวิล นุกิจ
ศุภดิศ สงวนนวน
พงษ์เทพ หารชุมพล
สันทนีย์ ผาสุข
ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์
บุญเติม แสงดิษฐ

Abstract

รายงานขององค์การอนามัยโลกระบุว่า อุบัติการณ์ของการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินจากเสียงในการประกอบอาชีพ (Occupational Noise-induced Hearing loss, NHL) พบได้ประมาณ 7-21% อันถือว่าเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งด้านอาชีวอนามัย กลุ่มผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาแบบสหสาขา ในเรื่องผลกระทบของเสียงที่มีต่อการได้ยินของผู้ปฏิบัติงานในโรงซักรีด ของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าที่มีขนาด 1,200 เตียง ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในแผนกจำนวน 72 คน ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการซักรีดผ้าน้ำหนัก 800 กิโลกรัมต่อวัน ผลการตรวจการได้ยินพบว่ามีการสูญเสียสมรรถภาพของการได้ยินจำนวน 8 คนจากจำนวน 24 คน ของกลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสกับเสียงดังมากกว่าร้อยละ 50 ในทำงานแต่ละวัน คิดเป็นร้อยละ 33 หลังการบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบด้วยการจัดตารางหมุนเวียนรวมถึงส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงแล้ว ได้ทำการติดตามผลด้วยการตรวจวัดระดับเสียงสะสมของพนักงานที่ผลตรวจการได้ยินผิดปกติทุกคนด้วย Noise dosimeter ผลการวัดพบว่าพนักงานทุกคนได้รับเสียงในขนาดที่ไม่เกินค่ามาตรฐานตามกฎกระทรวงแรงงานฯ และทำการวัดปริมาณเสียงในพื้นที่ พบว่ามีเครื่องจักรสำหรับซักผ้าขนาด 100 กิโลกรัมเพียงเครื่องเดียวที่มีขนาดเสียงเกินกว่ามาตรฐานซึ่งต้องอาศัยการแก้ไขปัญหาเสียงดังด้วยวิธีการทางวิศวกรรมในการลดขนาดเสียง นอกเหนือจากการดำเนินโครงการอนุรักษ์การได้ยินให้ต่อเนื่องต่อไป

Noise-induced Hearing Loss Management in Machinery Laundry of Phramongkutklao Hospital

Occupational Noise-induced hearing loss (NIHL) has been estimated between 7-21% by epidemiologic evidences and this disorder is also still relevant issue in medical management of workplace safety. Our group studied this problem in multi-disciplinary approach at the machinery laundry of 1,200-bed hospital by mean of physician, nurses, audiologistand environmental hygienists who involved in vocational health and safety issues. With the work load of clothes cleaning at 800-kg a day, prevalence of NIHL was 33% in workers who exposed to noise at longer than 50% of daily working duration. Effects of noise-reducing strategy were evaluated by noise dosimeters in workers who have abnormal audiogram and Sound pressure level measurements in working area. An area of excessive noise-level necessitated more engineered solution to control. The hearing conservation program also keeps going to maintain worker safety from NIHL. 

Article Details

How to Cite
เฟื่องฟู ภ., หรั่งศิริ ช., บุญเปลี่ยน ว., นุกิจ ส., สงวนนวน ศ., หารชุมพล พ., ผาสุข ส., เปี่ยมสมบูรณ์ ช., & แสงดิษฐ บ. (2016). การสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินจากเสียงในโรงซักรีด โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. Royal Thai Army Medical Journal, 66(4), 161–168. retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/rtamedj/article/view/61096
Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)