ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานในโรงงงานผลิตรถยนต์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ดุสิต จันทยานนท์
บุญเติม แสงดิษฐ

Abstract

ภูมิหลัง:  การเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการทำงานมีผลกระทบต่อการทำงาน และส่งผลไปถึงคุณภาพชีวิตของแรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงคุณภาพชีวิตของครอบครัว จึงควรมีงานวิจัยพื้นฐานเพื่อทราบขนาดของปัญหาและสาเหตุที่สามารถใช้เป็นแนวทางการให้ความรู้ที่ถูกต้องและส่งเสริมพฤติกรรมที่ปลอดภัยในการทำงาน ลดพฤติกรรมเสี่ยงและลดการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในโรงงานผลิตรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัสดุและวิธีการ: ศึกษา ณ ช่วงเวลาหนึ่ง โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงของผู้ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตรถยนต์ โดยให้ตอบแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป การประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน มาตรการป้องกันตัวเอง และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดำเนินการเก็บข้อมูลใน พ.ศ.2554 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS 19.0  เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป และหาความชุกของการเกิดอุบัติเหตุ และหาปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานโดยใช้ Chi-square test ระดับนัยสำคัญ 0.05 และการวิเคราะห์หลายตัวแปร ผลการวิจัย: มีผู้ตอบแบบสอบถาม 246 ราย จากจำนวนทั้งหมด 286 ราย (อัตราการตอบร้อยละ 82) พบว่ามีการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน 39 ราย คิดเป็นความชุกร้อยละ 15.9 เป็นอุบัติเหตุจากการถูกวัตถุทิ่ม/แทง/ตัดหรือบาดมีจำนวนมากที่สุดคือ 21 ราย (ร้อยละ 53.8) พบว่า มีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานคือ การศึกษาระดับประถมศึกษา ( OR 7.28, 95% CI; 1.474 - 35.98) การไม่มีประสบการณ์ใช้เครื่องจักรจากที่อื่นมาก่อน (OR 0.25, 95% CI ; 0.076 -0.793)  มีความชำนาญในการทำงานน้อย (OR 4.99, 95% CI; 1.254-19.87) และการไม่เคยฟังคำชี้แจงกฎระเบียบข้อบังคับของโรงงาน (OR 14.85, 95% CI; 1.106-199.382) สรุป: ความชุกของการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานในโรงงานผลิตรถยนต์เป็นร้อยละ 15.9 ซึ่งใกล้เคียงกับงานวิจัยอื่นๆ พบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดกับอุบัติเหตุได้แก่ การศึกษาระดับประถมศึกษา ความไม่คุ้นเคยกับการใช้งานเครื่องจักร ความชำนาญในการทำงานน้อย และการไม่รู้หรือไม่เข้าใจกฎระเบียบข้อบังคับของโรงงาน ดังนั้นการคัดเลือกพนักงานที่เหมาะสมและการส่งเสริมให้โรงงานมีการแนะนำชี้แจงกฎระเบียบข้อบังคับของโรงงานแก่พนักงานในโรงงานทุกคนจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Prevalence and Associated Factors of Work-related Accident in a Car Factory in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province

Background: Work-related accident and injury will have effect on work and quality of life of workers and their families. There should be basic researches for use as a guide to support accurate knowledge and promote work safety, reduce accident risk behaviors in factories. Objectives: To study the prevalence and associated factors of work-related accident in a factory in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Materials & Methods: Cross-sectional study was performed by purposive sampling of the workers of a car factory in Phra Nakhon Si Ayutthaya. The respondents answered the self-administered questionnaires which were composed of demographic data, experienced accident, preventive behaviors and associated factors. Data collection was performed in 20114 and SPSS 19.0 computer program were used in data analyses for general information and prevalence. Chi-square test (p< 0.05) and multivariate analysis was used for analysis of the associated factors of accident. Results: The participants were 246 from 286 cases (82% response rate). It was found that there were 39 workers with work-related accident, making the prevalence of 15.9%. The most common accident was stab or cut injury with the number of 21 cases (53.8%). The associated factors of accident were elementary education level ( OR 7.283, 95% CI; 1.474 - 35.98), low experience of machinery uses (OR 0.246, 95% CI; 0.076 -0.793), low expertise in working (OR 4.992, 95% CI; 1.254-19.87) and not been oriented of the rules and regulations of the factory (OR 14.849, 95% CI; 1.106-199.382). Conclusions: The prevalence of work-related accident in a car factory was 15.9% which is close to previous researches. The associated factors were elementary education level, low experience of machinery use, low expertise in working and low understanding of the rules and regulations of the factory. Therefore, promotion of factory rules and regulations education to the workers should be performed to reduce the risk of accidents efficiently.


Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)