อุบัติการณ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะซีดของผู้ป่วยเอชไอวีที่ได้รับสูตรยาที่มี zidovudine (AZT) ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

ธนัชพร รุ่งโรจน์วุฒิกุล
ปวีณา สนธิสมบัติ

Abstract

แนวทางการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีระดับชาติปี พ.ศ.2553 แนะนำให้ใช้ zidovudine (AZT) + 3TC ร่วมกับ NNRTI อีกหนึ่งชนิดเป็นยาต้านเอชไอวีสูตรแรก จึงมีแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยเอดส์ได้รับสูตรยาต้านเอชไอวีที่มี AZT เป็นองค์ประกอบมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้มีอุบัติการณ์การเกิดภาวะซีดเพิ่มขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะซีด และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะซีดของผู้ป่วยนอกที่ได้รับยา AZT วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงวิเคราะห์แบบสังเกตการณ์ รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยนอกที่ได้รับยา AZT ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และติดตามผลต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยเกิดภาวะซีด 34 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์การเกิดภาวะซีดของผู้ป่วยที่ได้รับยา AZT เท่ากับ 4.34 คน-ปี และผู้ป่วยร้อยละ 85.3 เกิดภาวะซีดภายใน 6 เดือนหลังจากได้รับยาครั้งแรก สรุปและวิจารณ์ ปัจจัยด้านระดับฮีโมโกลบินพื้นฐานที่น้อยกว่า 10.5 กรัม/ดล. และขนาดยา AZT ที่ผู้ป่วยได้รับที่มากกว่า 8 มก./กก./วัน มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซีดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05)

Incidence and Risk Factors of Anemia During Zidovudine Containing Regimen Therapy in HIV-infected Pateints, Phramongkuthlao Hospital

Introduction As the national guideline on HIV/AIDS diagnosis and treatment: Thailand 2010 recommended to use zidovudine (AZT) and lamivudine (3TC) in combination with another NNRTI as the first line anti-HIV drug regimen. Therefore, HIV-infected patients have been likely to receive the regimen containing  AZT and may increase the incidence of anemia. Objective: This study was aimed to determine the incidence of  anemia and to find out the risk factors of anemia during AZT-containing regimen therapy. Methods: This retrospective observational study was conducted in Phramongkutklao hospital using out-patient medical records and follow-up records for a period of one year. Result: The result showed 34 cases of anemia. The incidence was 4.34 person-year and 58.29% of these patients had developed anemia within the first six months after receipt  the first dose of  AZT. Conclusion: The study was found that baseline hemoglobin level less than 10.5 g/dL and dose of  AZT per day that greater than 8 mg/kg were associated with the occurrence of anemia statistically significant (P-value <0.05).

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)