การคัดกรองปัจจัยเสี่ยง การสำรวจความรู้ และความตระหนักในการป้องกันการเจ็บป่วยจากความร้อนจากการฝึกของทหารกองประจำการ

Main Article Content

วาสนา นัยพัฒน์
มัลลิกา ลิ้มจิตกร
พัฑฒิดา สุภีสุทธิ์
ศิริวรรณ เผ่าจินดา

Abstract

ความเป็นมา กรมแพทย์ทหารบกตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันการเจ็บป่วยจากความร้อนจากการฝึกของ

ทหารกองประจำการมาโดยตลอดและได้กำหนดนโยบาย และมาตรการปฏิบัติที่เคร่งครัด เช่น ทำการคัดกรองปัจจัยเสี่ยงในทหารใหม่ทุกคน ให้ความรู้แก่ผู้ทำการฝึกและทหารใหม่ก่อนการทำการฝึก อย่างไรก็ตามยังไม่มีการสำรวจความรู้และความตระหนักของทหารใหม่ในการป้องกันการเจ็บป่วยจากความร้อนจากการฝึกและยังไม่มีแบบวัดเพื่อการดังกล่าว ผลการวิจัยครั้งนี้จะช่วยเพิ่มความตระหนักในการเฝ้าระวังการเจ็บป่วยจากความร้อนจากการฝึกที่ยังพบว่ามีอัตราป่วยตายของทหารใหม่ในปัจจุบัน วัตถุประสงค์: เพื่อคัดกรองปัจจัยเสี่ยง สำรวจและเปรียบเทียบความรู้ และความตระหนักในการป้องกันการเจ็บป่วยจากความร้อนจากการฝึกของทหารกองประจำการที่มีระดับปัจจัยเสี่ยงต่างกัน รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยายแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) วิธีการศึกษา: ก่อนการอบรมและการฝึกทหาร ของทหารกองประจำการผลัดที่ 1 ประจำปี 2556 จำนวน 556 นาย จากหน่วยฝึกทหารใหม่แห่งหนึ่ง ได้รับการคัดกรองปัจจัยเสี่ยง โดยใช้แบบคัดกรองปัจจัยเสี่ยงของกรมแพทย์ทหารบก มีทหารใหม่ที่อ่านออกเขียนได้จำนวน 536 คน (ร้อยละ 96.4) สมัครใจตอบแบบวัดความรู้และแบบวัดความตระหนักในการป้องกันการเจ็บป่วยจากความร้อนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นที่ได้ทดลองใช้แล้วมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.79 และ 0.77 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและ t-test ผลการวิจัย: ทหารกองประจำการส่วนใหญ่ ร้อยละ 85.97 (478 คน) มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการเจ็บป่วยจากความร้อนจากการฝึกอยู่ในระดับสูง รองลงมาร้อยละ 13.31 (74 คน) มีปัจจัยเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 0.72 (4 คน) มีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ ทหารกองประจำการ มีคะแนนความรู้เฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 57.35 ซึ่งอยู่ในระดับไม่ผ่านเกณฑ์ (ต้องปรับปรุง) โดยคะแนนความรู้สูงสุดเท่ากับร้อยละ 80 (ผ่านเกณฑ์) คะแนนความรู้ต่ำสุดเท่ากับร้อยละ 12.5 (ไม่ผ่านเกณฑ์ต้องปรับปรุงอย่างมาก) และมีคะแนนความตระหนักเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 65.8 ทหารใหม่ที่มีระดับปัจจัยเสี่ยงต่างกันมีความรู้ในการป้องกันการเจ็บป่วยจากความร้อนจากการฝึกไม่แตกต่างกัน แต่มีความตระหนักแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพบว่าทหารกองประจำการที่ปัจจัยเสี่ยงปานกลาง มีความตระหนักสูงกว่ากลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง สรุป: จากการที่ ทหารกองประจำการที่มีปัจจัยเสี่ยงมีความตระหนักโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้น หน่วยฝึกและผู้ทำการฝึกทหารใหม่ควรมีการเฝ้าระวังการเกิดโรคลมร้อนด้วยการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านการฝึก ของกรมแพทย์ทหารบกอย่างเคร่งครัด เช่น ด้านระยะเวลาการฝึก การพักที่เหมาะสม สิ่งแวดล้อมและการใช้ธงสัญลักษณ์ ความพร้อมในการช่วยเหลือได้ทันท่วงที นอกจากนี้ผู้วิจัยได้รายงานผลการคัดกรองและคะแนนการความรู้และความตระหนักให้หน่วยทราบ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มพูนความรู้และความตระหนักให้กับทหารใหม่ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป

The Screening of Risk Factors, Knowledge and Awareness Survey for Heat Related Illness Prevention (HRIP) from Drill Training among Conscripts

Background: The Royal Thai Army Medical Department  (RTAMD) has been concerned about  preventing heat related  illness from  drill training and established the policy  and  strictly  defensive  measures such as screening risk factors among conscripts and  educating  the  trainers  and  conscripts  before training. However, there have not been any survey for knowledge and awareness for HRIP from training in conscripts and have no test for these before. The finding could be used to help increasing their awareness of this matter. Objective: To screen their risk factors, survey and compare the levels of knowledge and awareness for HRIP from training among conscripts who had different levels of risk factors. Research design: Cross Sectional Descriptive study. Material and method: Before education and joining the drill training, 556 conscripts (100%) of the first shift in the year 2013 were screened of their risk factors by using a screening check list of the RTAMD. The 536 literate conscripts (96.40%) were volunteers to take the knowledge and awareness test for HRIP from training designed by researchers in which their reliabilities were 0.79 and 0.77 respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics and t-test. Results: Most conscripts (85.97%) faced high risk factors for HRI from training. Some scripts (13.31%) contained moderate risk factors and 0.72% of them had low risk factors. Their knowledge average score was equal 57.35% which was lower than 80% (passing score). The lowest score was 12.5% (not pass, need much improvement). In addition, their average awareness score was in a moderate level (65.8%). The conscripts with different levels of risk factors had no difference of their knowledge for HRIP from training. Still, their awareness was statistically different at a .05 significant level. In other words, the conscripts with moderate risk factors had higher awareness than those with high risk factors. Conclusions: According  to the findings, the awareness of conscripts with high risk factors was in a moderate level, therefore, the military training  units and  trainers should be aware of heat stroke  prevention by strictly following training instructions of  RTAMD, in terms of suitable training  period, environmental setting, symbol flags use, and  immediate assistance readiness. Moreover, the researchers had reported the screening results and the scores to the training units, so that they can be guidelines for enhancing their knowledge and awareness appropriately and effectively further.


Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)