ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดระดับไขมันในเลือดของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติในชุมชนทหาร

Main Article Content

เพชรนภา พชรนภพลธร
วาสนา นัยพัฒน์
สายชล สิงห์ทน
สละ ทัพถาวร
ฉัตรมณี คูณเรือง
เพียงฤทัย ศรีโรจน์

Abstract

ความเป็นมา โรคไขมันในเลือดสูงเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก ผลการตรวจสุขภาพของข้าราชการทหารค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จำนวนของข้าราชการที่ตรวจพบว่ามีภาวะของโคเลสเตอรอลในเลือดสูงร้อยละ 67.45 วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนา ประยุกต์ใช้ และประเมินผลการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดระดับไขมันในเลือดของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติในชุมชนทหาร โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model) ของ Becker และ Maiman(1975) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิธีดำเนินการ: ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นข้าราชการทหารในพื้นที่ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 41 คน ที่มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ไม่เคยใช้ยารักษา และสมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบมีส่วนร่วมฯ เป็นเวลา 24 สัปดาห์  (6 เดือน) การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะออกแบบโปรแกรม 2) ระยะทดลองใช้ และ 3) ระยะประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการใช้แบบวัดความรู้และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม และทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการซ้ำเพื่อประเมินระดับไขมันในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัย: ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม อาสาสมัครมีคะแนนความรู้เรื่องโรคไขมันในเลือดสูงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีคะแนนพฤติกรรมในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) และภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม อาสาสมัครในกลุ่มทดลองมีระดับไขมันในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) สรุปได้ว่า โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดระดับไขมันในเลือดของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ สามารถช่วยเพิ่มความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองและทำให้ระดับไขมันในเลือดของอาสาสมัครลดลง จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปได้

The Effects of the Adaptive Behavior Participation Program for Reducing Lipid Levels among Dyslipidemia Personnel in Military Community

Background: Hyperlipidemia is one cause of cardiovascular diseases leading to death among world population. The physical examinations at Sunprasithiprasong site found 67.45% of military personnel facing dyslipidemia. Objectives: To develop, apply, and evaluate the effects of the Adaptive Behavior Participation Program for reducing lipid levels in dyslipidemia personnel in military community. Health Believe Model of Becker and Maiman (1975) was used as a conceptual framework of this study. Research Design: Parcipatory action research.  Material and method: The participants included 41 military personnel from Sunprasithiprasong Site, Ubon Ratchathani Province, who had dyslipidemia, were free from any lipid reducing medicines and willing to attend the Adaptive Behavior Participation Program for 24 weeks (6 months). The research was divided into 3 phases which were 1) program designing phase 2) implementation phase and 3) evaluation phase. Before and after the program, individual and focus group interview, and parcipatory observation were used for qualitative data collection; whereas knowledge test and self-care behavior questionnaire for dyslipidemia were used for quantitative data collection. Then the laboratory blood test for lipid profile levels was repeated. The data were analyzed by using content analysis and percentage, mean, standard deviation and paired sample t – test. Results: After attending the program, the participants in experimental group gained more knowledge scores and self care behavior scores than before the program (p < 0.05, 0.01 respectively). In addition, their lipid levels were significantly lower than the prior levels (p < 0.001). In summary, the Adaptive Behavior Participation Program for reducing lipid levels of dyslipidemia personnel enabled the participants to increase their knowledge and self care behavior scores and can decrease their lipid levels. Therefore, it can be applied further. 

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)