ภาวะสุขภาพจิตของผู้ป่วยราชการสนาม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

อิศรา รักษ์กุล

Abstract

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิต และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้ป่วยราชการสนามโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิธีการ:  ผู้ป่วยราชการสนามทุกรายที่นอนรักษาตัว ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าระหว่างเดือนมกราคม 2555 ถึง เดือน ธันวาคม2556จำนวน 191รายได้รับการประเมินด้วยแบบคัดกรองสุขภาพจิตของกรมสุขภาพจิตประกอบด้วยแบบสอบถามสุขภาพจิตทั่วไป 12 ข้อ (Thai General Health Questions: GHQ12) แบบประเมินโรคเครียดภายหลังเหตุการณ์วิกฤติ(PTSD Screening Test) และแบบคัดกรองโรคซึมเศร้าชนิด 2 คำถาม (2Q)และ 9 คำถาม (9Q)  โดยนำข้อมูลที่ได้มาแจกแจงด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิตโดยใช้สถิติ Fisher’s exact test และ independent t - test ผลการศึกษา :ผู้ป่วยราชการสนามมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิตจำนวน 18ราย คิดเป็นร้อยละ 9.42ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพจิต พบว่า ระดับการศึกษา (p = 0.030) การเจ็บป่วยทางกาย(p = 0.030) การสูญเสียบทบาทหน้าที่และโอกาสทางสังคม (p = 0.005) และวิถีการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป (p < 0.001) เป็นปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพจิต สรุป :ควรมีระบบการติดตามดูแลรักษาด้านจิตใจแก่ผู้ป่วยราชการสนามในระยะยาวต่อไป เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นใหม่ได้

Mental Health Status among Injured Army Personnel Patients at Phramongkutklao Hospital

Objective : To study the mental health status and the factors affecting the mental health status of injured army personnel patients at Phramongkutklao Hospital. Methods:  The subjects were 191 injured army personnel in - patients at Phramongkutklao Hospital during the period of January 2012 to December 2013. Data was collected from the results of the mental health inventory from the Department of Mental Health including 12 Thai General Health Questions, Post - traumatic Stress Disorder Screening Test and 2 - question and 9 - question depression inventories. The data consisted of the frequency, percentage, average, and the relation among different factors affecting the mental health analyzed by Fisher’s exact test and independent t - test. Results: It is found that 18 injured army personnel were risk for mentally ill (9.42 percent). The causes affecting the mental health status were the educational background (p=0.030) physical illness (p=0.030)the loss of social role, duty, and chance (p=0.005) and the changing way of living (p <0.001) Conclusion :Further suggestions are that the treatment system for the psychological treatment of injured army personnel in the long term should be employed to prevent the possible reoccurring mental health problems.


Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)