การเปลี่ยนแปลงของสมรรถภาพปอดหลังจากทำงานในรอบวันในคนงานโรงงานผลิตเครื่องแต่งกายทหารแห่งหนึ่ง

Main Article Content

ทศพร เอกปรีชากุล
คทาวุธ ดีปรีชา
สว่าง แสงหิรัญวัฒนา
สุนทร ศุภพงษ์

Abstract

ความเป็นมาการทำงานสัมผัสฝุ่นเครื่องแต่งกายทหาร อาจส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพปอด และก่อให้เกิดโรคปอดฝุ่นฝ้ายนอกจากนี้ยังไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบต่อสุขภาพ หรือการเฝ้าระวังสุขภาพในคนงานที่สัมผัสฝุ่นเครื่องแต่งกายทหารวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพปอดในรอบวัน และอัตราความชุกของโรคปอดฝุ่นฝ้ายในคนงานของโรงงานผลิตเครื่องแต่งกายทหารแห่งหนึ่งรูปแบบการวิจัยการศึกษาเชิงพรรณนาณ จุดใด จุดหนึ่งวิธีการวิจัยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคนงานฝ่ายผลิตของโรงงานผลิตเครื่องแต่งกายทหารแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามประวัติผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดฝุ่นฝ้าย (Byssinosis) และตรวจสมรรถภาพปอดด้วยเครื่องไสโรเมตรีย์ชนิดโฟลเซนส์ซิ่ง ผลการวิจัยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 165 คน มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจจำนวน 46 คน (ร้อยละ 27.9)ผลการตรวจร่างกายของกลุ่มตัวอย่างหลังจากทำงานพบหายใจมีเสียงวี้ดจำนวน 2 คน (ร้อยละ 1.2) โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีค่าสมรรถภาพปอด cross-shiftFEV1 ลดลงตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไปมีจำนวน 17 คน (ร้อยละ10.3) กลุ่มตัวอย่างที่มีอาการผิดปกติของทางเดินหายใจร่วมกับค่าสมรรถภาพปอดcross-shiftFEV1 ลดลงตั้งแต่ร้อยละ 10 เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคปอดฝุ่นฝ้ายจากการทำงานมีจำนวน 2 คน (ร้อยละ1.2)สรุปฝุ่นจากเครื่องแต่งกายทหารก่อให้เกิดอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ และการลดลงของสมรรถภาพปอด จึงควรมีมาตรการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน การใช้เครื่องป้องกันที่เหมาะสม และการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงให้แก่คนงานเพื่อเฝ้าระวังสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

Cross-shift changes in pulmonary function among employees in a military garment factory

Background:Respirable dust at the work place could harm respiratory system and cause byssinosis among textile workers but never been studied in the military before. Objectives:To study respiratory problems,cross-shift spirometryand the prevalencerate of byssinosis among workers in a military garment factory Study design:Cross-sectional descriptive studySetting Production department in a military garment factory in Nonthaburi province Methods:Thai CDC Byssinosis questionnaires and cross-shift spirometrywere collected from sampled workers Results:Forty six cases (27.9%)  of 165 workers reported abnormal respiratory symptoms. There were 2 cases (2%)with post-shift wheezing. Furthermore,17 workers (10.3%) had at least 5 percent-decreased cross-shift FEV1. The prevalencerate of occupational byssinosis was 1.2% (2 cases).Conclusions:The dust from modern military garment potentially caused abnormalities in respiratory system and decreased cross-shift FEV1 which could lead to poor pulmonary function in the future or after retirement. Engineering controls to improvework environment andproper personal protection equipmentregulations should be established. Health screening and surveillance programs are also needed.

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)