การศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ของพลทหารกองประจำการ ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศุภโชค ตรรกนันท์
วัลลภ แดงใหญ่
ภาวฤณ ลีฬหวนิช
ศุภขจี แสงเรืองอ่อน

Abstract

ซึ่งจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันให้ลดน้อยลง จนไม่สามารถต้านทานต่อเชื้อ โรคต่างๆ ได้ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะระดับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีของพลทหารกองประจำการในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ของพลทหารกองประจำการ ในเขตกรุงเทพมหานคร วิธีการศึกษา ได้จากการสุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย พลทหารกองประจำการในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 344 นาย เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติเชิงอนุมาน (การวิเคราะห์สหสัมพันธ์) ผลการศึกษา พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติด เชื้อเอชไอวีของพลทหารกองประจำการในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อ การติดเชื้อเอชไอวีของพลทหารกองประจำการในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับ เชื้อเอชไอวี การรับรู้ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตามคำแนะนำและการได้รับข้อมูลข่าวสารและ คำแนะนำจากแหล่งต่างๆ สรุป กลยุทธ์ในการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีในพลทหารกองประจำการ ควรที่จะต้องให้ความ รู้และคำแนะนำการป้องกันเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวีในพลทหารกองประจำการให้มากขึ้น

The Study of Risk Behavioral Toward HIV Infection of Conscripts
in Bangkok

AIDS (Acquired Immune Deficiency Syndrome) is the final stage of HIV infection. The virus attacks the immune system and weakens your ability to fight infections and disease. The purposes of this survey were to study the characterization of risk behavior toward HIV infection of conscripts in Bangkok and factors that affected their risk behavior. The research population was comprised of all conscripts in Bangkok. Altogether 344 conscripts wererandomly selected. The research instrument was the questionnaire. Statistics used for research data analysis were descriptive statistics including frequency, percentage, mean and standard deviation and inferential statistics (correlation analysis). The research findings indicated that: The risk behavior toward HIV infection of conscripts in Bangkok was at a moderate level. The factors that affected the risk behavior toward HIV infection of conscripts in Bangkok were educational level, occupation, knowledge on HIV, perceived susceptibility to HIV infection, perceived benefit of performed suggestion, and giving information and suggestion from other sources, at the 0.05 significance level. Strategies for reduced risk behavior toward HIV infection of conscripts in Bangkok include increased the giving knowledge and preventive suggestion of HIV infection in the conscripts.


Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)