การให้หัวน้ำนมของมารดาตนเองทางช่องปากแก่ทารกน้ำหนักน้อยมาก: ความเป็นไปได้ ผลทางคลินิก และความปลอดภัย

Main Article Content

คูศิริวิเชียร กัลยาณี
แสงแข ชำนาญวนกิจ

Abstract

 ความเป็นมา นมแม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวน้ำนม มีสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปริมาณสูงมาก การให้หัวน้ำนมทางช่องปากอาจช่วยสร้าง เสริมภูมิคุ้มกันและลดภาวะแทรกซ้อนในทารกเกิดก่อนกำหนดได้ วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความเป็นไปได้ ผลทางคลินิกและความ ปลอดภัยของการให้หัวน้ำนมทางช่องปากแก่ทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1,500 กรัม วิธีการศึกษา มารดาของ ทารกที่เข้าเกณฑ์การศึกษาได้รับคำแนะนำให้เก็บหัวน้ำนมโดยเร็วหลังคลอด นำหัวน้ำนมปริมาณน้อย หยอดในช่องปากของทารกโดย เร็วที่สุด และทำทุก 3 ชั่วโมง จนครบ 48 ชั่วโมงนับจากการหยอดหัวน้ำนมครั้งแรก เมื่อสิ้นสุดการศึกษา ทารกจะได้รับการจัดแบ่ง เป็น 2 กลุ่ม ขึ้นกับความสำเร็จของการได้รับหัวน้ำนมมารดาทางช่องปาก กลุ่มที่ให้หัวน้ำนมทางช่องปากสำเร็จ หมายถึง ทารกที่ได้รับ หัวน้ำนมของมารดาตนเองทางช่องปากภายใน 4 วันแรกหลังคลอดและได้รับทั้งหมดอย่างน้อย 12 ครั้ง และกลุ่มที่ให้หัวน้ำนมทาง ช่องปากไม่สำเร็จ หมายถึง ทารกไม่ได้รับหัวน้ำนมภายใน 4 วันแรกหลังคลอด หรือได้รับน้อยกว่า 12 ครั้ง รวบรวมผลทางคลินิก ผล การเพาะเชื้อในช่องจมูกทารก และภาวะแทรกซ้อนของการให้หัวน้ำนม ผลการศึกษา มีทารกในการศึกษา 18 ราย เป็นเพศชาย 10 ราย (ร้อยละ 55.6) ค่ามัธยฐาน (พิสัย) ของอายุครรภ์และน้ำหนักแรกเกิด คือ 30.5 (28,35) สัปดาห์ และ 1,239 (742-1,492) กรัม ตามลำดับ มีทารก 16 ราย (ร้อยละ 88.9) ได้รับหัวน้ำนมทางช่องปากอย่างน้อยหนึ่งครั้งภายใน 4 วันแรกหลังคลอด โดยค่ามัธยฐาน (พิสัย) ของจำนวนครั้งที่ได้รับหัวน้ำนมทางช่องปากภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากเริ่มให้หัวน้ำนมครั้งแรก คือ 11.5 (1, 16) ครั้ง มีทารก ที่ได้รับหัวน้ำนมทางช่องปากสำเร็จจำนวน 8 ราย (ร้อยละ 44.4) อายุมารดา การเป็นบุตรคนแรก การผ่าตัดคลอด อายุครรภ์ทารกและ การเป็นทารกแฝดไม่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จของการได้รับหัวน้ำนมทางช่องปาก นอกจากนี้ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ของอายุที่ได้รับนมเต็มที่ ระยะเวลาที่ทารกกินนมมารดาอย่างเดียว อายุที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่าน้ำหนักแรกเกิด ระยะเวลาได้รับสารอาหาร ทางเส้นเลือด และอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน ในการศึกษานี้ไม่พบผลข้างเคียงในระหว่างการให้หัวน้ำนมทางช่องปาก สรุป การให้ หัวน้ำนมของมารดาตนเองทางช่องปาก มีความเป็นไปได้สูง สามารถทำได้ ง่าย และปลอดภัย

Oropharyngeal Administration of Own Mother’s Colostrum to Very Low Birth Weight Infants: Feasibility, Clinical Outcomes and Safety

Background: Breast milk, especially colostrum has high amount of immunity factors. Oropharyngeal administration of colostrum may promote immune response and reduce complications in preterm infants. Objective: To evaluate the feasibility, clinical outcomes and safety of oropharyngeal administration of own mother’s colostrum to preterm infants with birth weight less than 1,500 grams. Methods: Mothers of eligible infants were encouraged to collect colostrum soon after delivery. The small amount of own mothers’ colostrum was administered on the oropharynx of the infants as soon as possible and then every three hours until completion at 48 hours after the first dose. After study completed, the infants were divided into two groups depend on the success of colostrum oral care. The successful colostrum group were infants who received the first dose of colostrum within 4 days of age and at least 12 total doses. The unsuccessful group were infants who received the first dose after 4 days of age or received less than 12 total doses. Clinical outcome, nasal swab culture and complications were assessed. Results: We enrolled 18 infants into the study. Ten (55.6%) infants were male. The median (range) gestational age and birth weight were 30.5 (28, 35) weeks and 1,239 (742-1,492) g, respectively. Sixteen infants (88.9%) received at least one dose of the first colostrum oral care within four days of age. The median (range) total colostrum received was 11.5 (1, 16) doses. There were 8 infants in the successful colostrum group (44.4%). Maternal age, first-born infant, cesarean section, gestational age and twins were not associated with the success of colostrum oral care. No significant differences between the groups in the age receiving full enteral feeding, duration of exclusive breastfeeding, time to regain birth weight, days of parenteral nutrition and neonatal complications. No adverse event of colostrum oral care was observed. Conclusion: Oropharyngeal administration of own mother’s colostrum was feasible, easy, safe.

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)