อัตราความสำเร็จในการทำหัตถการการเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดดำของต่อมหมวกไตในผู้ป่วยที่มีภาวะอัลโดสเตอโรนสูง ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

ชัชชาญ คงพานิช
ไพบูลย์ คูหเพ็ญแสง
ศุภขจี แสงเรืองอ่อน

Abstract

ความเป็นมา ภาวะความดันโลหิตสูงจากการทำงานของต่อมหมวกไตที่มากกว่าปกติ (primary aldosteronism) มีความเสี่ยงต่อการ เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหลอดเลือดและหัวใจ มากกว่าความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุหลายเท่า การตรวจต่อมหมวกไต ด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ไม่สามารถบ่งชี้ภาวะการทำงานของต่อมหมวกไตที่มากกว่าปกติได้ว่า อยู่ที่ข้างใด ดังนั้นการทำหัตถการการเก็บตัวอย่างเลือดดำโดยตรงจากต่อมหมวกไต จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยค้นหาและยืนยัน ภาวะการทำงานของต่อมหมวกไตที่มากกว่าปกติได้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมมากที่สุด วัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาอัตราความสำเร็จในการทำหัตถการการเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดดำของต่อมหมวกไตทั้งสองข้าง วิธีการ เป็นการศึกษา วิจัยเชิงพรรณนา (descriptive study) ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ได้รับการวินิจฉัยยืนยันการเป็นโรค primary aldosteronism ที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อส่งมาทำหัตถการการเก็บเลือดจากหลอดเลือดดำของต่อมหมวกไตในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ทั้งหมด 15 ราย ในช่วงมกราคม 2556 ถึง ตุลาคม 2558 ผลการศึกษา อัตราความสำเร็จในการทำหัตถการการเก็บตัวอย่างเลือดจาก หลอดเลือดดำของต่อมหมวกไตข้างขวาและข้างซ้าย คิดเป็นร้อยละ 93.3 และ 80 ตามลำดับ มีผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ต่อมหมวกไต (laparoscopic adrenalectomy) จำนวน 7 ราย ผลทางพยาธิวิทยาเป็น adrenal adenoma ทุกราย และผู้ป่วยได้รับ การรักษาด้วยยา (medication) จำนวน 8 ราย นอกจากนี้ยังพบว่า ผลการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ของต่อมหมวกไต สอดคล้องกับผลการวินิจฉัยโรคทางคลินิค คิดเป็นร้อยละ 46.7 สรุป การทำหัตถการการเก็บตัวอย่างเลือด จากหลอดเลือดดำของต่อมหมวกไตประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ ทำให้มีผลต่อแนวทางการรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายที่ชัดเจน และช่วยให้ผู้ป่วยหลายรายมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Successful Rate of Adrenal Venous Sampling (AVS) in primary Aldosteronism at Phramongkutklao Hospital

Background: Secondary hypertension from the cause of primary aldosteronism has higher risk of cardiovascular complication than essential hypertension. Imaging study of the computed tomography (CT) or magnetic resonance imaging (MRI) cannot be identified aldosterone overproduction from the adrenal gland. Therefore, an adrenal venous sampling (AVS) procedure has important for determining the cause of primary aldosteronism which result in proper management and treatment. Objective: The goal of this study was to result of the successful rate of adrenal venous sampling (AVS) procedure in primary aldosteronism at Phramongkutklao Hospital. Materials and Methods: A descriptive study from retrospective review data of 15 patients who were definite diagnosed as primary aldosteronism by the endocrinologist and sent for adrenal venous sampling (AVS) procedure at Phramongkutklao Hospital from January 2013 to October 2015. Results: The successful rate of adrenal venous sampling (AVS) procedure on the right and left adrenal veins is about 93.3% and 80%, respectively. Seven patients are managed by laparoscopic adrenalectomy which confirmed the adrenal adenoma by pathological report in all patients. The other patients have managed by long life antihypertensive medication. Also seen concordant of imaging finding (CT & MRI) and clinical diagnosis are about 46.7%. Conclusion: The successful rate of adrenal venous sampling (AVS) procedure has well appreciated level resulting in proper for patient management and improved quality of life in some patients.

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)