การประเมินความเครียดในพยาบาลแผนกไอซียู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

วีระยุทธ บุญเกียรติเจริญ
ดุสิต จันทยานนท์

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินระดับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพแผนกไอซียู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าตั้งแต่วันที่ 11-31 มีนาคม พ.ศ. 2559 รูปแบบ การศึกษาเชิงพรรณนา วิธีการ โดยมีพยาบาลที่ให้ข้อมูลครบถ้วนเพียงพอต่อการวิเคราะห์จำนวน 96 ราย ใช้ แบบประเมินความเครียดของโรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าต่ำที่สุด ค่าสูงที่สุด ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบ เพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย ผลการศึกษา พบว่า พยาบาลวิชาชีพแผนกไอซียูโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้ามีความเครียด อยู่ในระดับปานกลางถึงสูง โดยมีค่ามัธยฐานของระยะเวลาการอยู่เวรเท่ากับ 30 เวรต่อคนต่อเดือน ซึ่งถือว่ามีภาระงานหนักกว่าที่ควร จะเป็น แต่จากการวิเคราะห์ในทางสถิติ พบว่าระยะเวลาการอยู่เวรที่คิดเป็นชั่วโมงต่อเดือนไม่มีผลต่อระดับความเครียดที่ประเมินได้ สรุป พยาบาลวิชาชีพแผนกไอซียูโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้ามีความเครียดอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง อาจเป็นเพราะว่ามีปัจจัยด้านอื่น เช่น ปัจจัยเรื่องลักษณะงาน ที่ยังมิได้นำมาวิเคราะห์ในการศึกษานี้ ซึ่งสามารถนำประเด็นนี้ไปทำการศึกษาต่อได้ในอนาคต

Stress Assessment of ICU Nurses of Phramongkutklao Hospital

The objective of this descriptive study was to assess the level of stress of ICU nurses in Phramongkutklao Hospital during the period from 11-31 March 2016. Ninety-six nurses completed a demographic data form and research questionnaire. The data collection tool was Suanprung Stress Test-20, Department of Mental Health. The data were analyzed using frequency, min, max, percentage, mean, standard deviation, median, skewness, kurtosis, Pearson correlation and simple regression analysis. Study results indicated moderate to high levels of stress in ICU nurses. The median of work period is 30 eight-hour shifts per month. This workload was harder than it should be. However, the analysis, in term of statistic, presented that the number of work hours per month do not affect on stress level. It is possible that the other factors such as job description may the major cause for stress. This factor had not been analyzed in this study and may be the topic for further study.

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)