ประสิทธิผลของเครื่องมือส่องไฟหลอดแอลอีดีที่ผลิตเองสำหรับรักษาทารกที่มี ภาวะตัวเหลืองเปรียบเทียบระหว่างโคมส่องไฟแอลอีดีและเตียงส่องไฟแอลอีดี
Main Article Content
Abstract
ความเป็นมา ปัจจุบันทารกที่มีภาวะตัวเหลือง มักจะรักษาด้วยการใช้โคมส่องไฟแอลอีดี แต่เนื่องจากโคมส่องไฟมีขนาดใหญ่มีปัญหา ในด้านการเคลื่อนย้าย จึงมีการดัดแปลงโดยการส่องไฟแอลอีดีจากด้านล่างของทารก วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลใน การลดระดับบิลิรูบินในเลือดของทารกที่มีภาวะตัวเหลืองระหว่างการส่องไฟด้วยหลอดอีมิดทิงค์ไดโอดส์(แอลอีดี) 2 ชนิด ที่ประกอบ ขึ้นเอง คือ โคมส่องไฟแอลอีดีแบบเดิม และ ส่องไฟด้วยเตียงแอลอีดีที่วางใต้เตียงของทารก วิธีการศึกษา ทารกแรกเกิดอายุครรภ์ตั้งแต่35 สัปดาห์และมีน้ำหนักแรกเกิดตั้งแต่2,500 กรัมขึ้นไป คะแนนแอ๊พการ์ที่ 5 นาที มากกว่า 5 อายุมากกว่า 24 ชั่วโมง และ ไม่เกิน 14 วัน ที่มีภาวะตัวเหลืองและมีข้อบ่งชี้ในการรักษาโดยการส่องไฟ จะได้รับการจัดเข้ากลุ่มด้วยวิธีการสุ่ม คือ กลุ่ม 1 ส่องไฟ ด้วยโคมส่องไฟแอลอีดีแบบเดิม และกลุ่ม2 ส่องไฟด้วยเตียงแอลอีดีที่วางใต้เตียงของทารก โดยกำหนดให้ได้ความเข้มแสงมากกว่า 30 ไมโครวัตต์ต่อตารางเซนติเมตรต่อนาโนเมตรทั้งสองกลุ่ม ประเมินระดับบิลิรูบินและความเข้มข้นของเลือดก่อน ส่องไฟ ที่ 12, 24 ชั่วโมงภายหลังเริ่มส่องไฟ และที่ 4 ชั่วโมง ภายหลังหยุดส่องไฟ มีการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากการส่องไฟ ได้แก่น้ำหนักลด ไข้และภาวะตัวเย็น เป็นต้น ผลการศึกษา ทารกเข้าร่วมการศึกษา 84 ราย แบ่งเป็นกลุ่มละ 42 ราย ทารกทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตก ต่างกันในอายุ เพศ น้ำหนักแรกเกิด อายุที่เริ่มส่องไฟ ระดับบิลิรูบินในเลือดเมื่อเริ่มส่องไฟของทารกกลุ่ม 1 (14.5 มก./ดล.) สูงกว่า กลุ่ม 2 (13.6 มก./ดล.) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.0019) ภายหลังส่องไฟที่ 12-24 ชั่วโมง ทารกกลุ่ม 1 มีระดับบิลิรูบิน (8.0 มก./ดล.) ต่ำกว่ากลุ ่ม2 (9.0 มก./ดล.) (p = 0.033) และอัตราการลดลงของระดับบิลิรูบินในกลุ่ม 1 มากกว่ากลุ่ม 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ทารกกลุ่ม 1 มีน้ำหนักลดลงที่ 24 ชั่วโมงภายหลังส่องไฟ น้อยกว่ากลุ่ม 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.04) สรุป โคมส่องไฟแอลอีดีมีประสิทธิผลในการรักษาทารกที่มีภาวะตัวเหลือง แต่โคมส่องไฟลดระดับบิลิรูบินในเลือด ได้ดีกว่าเตียงส่องไฟ
Efficacy of Local-Made Phototherapy Devices Using Light-Emitting Diodes (LED) Lamps for Treatment of Neonatal Hyperbilirubinemia Compared Between Top-Lighting and Bed Designs
Background: Currently, phototherapy with LED lamps is commonly used for treating infants with hyperbilirubinemia. However, it was difficult to provide nursing care and to move the lamps. We therefore designed an LED bed for phototherapy underneath the infants. Objectives: To compare the efficacy of bilirubin reduction in infants underwent phototherapy between using top-lighting and bed design LED lamps. Methods: We enrolled infants who had gestational age ³ 35 weeks, birth weight ³ 2,500 grams, Apgar scores at 5 minutes > 5 and aged between 24 hours and 14 days. All infants had hyperbilirubinemia requiring phototherapy. Eligible infants were allocated into one of two groups by using a block of 4 randomization. Group 1 received top-lighting LED photo lamps and group 2 received bed design LED photo lamps. Light intensity was above 30 mwatt/cm2/nm for both groups. Serum bilirubin and hematocrit levels were serially measured at 12 and 24 hours after initiation and at 4 hours after stopping phototherapy. Weight loss and side effects including fever and hypothermia were monitored. Results: Forty-two infants were enrolled into each group. There were no differences in gender, gestational age, birth weight and age at starting phototherapy. The median of initial serum bilirubin levels of group 1 (14.5 mg/dL) was significantly higher than that of group 2 (13.6 mg/dL) (p = 0.019). After 12-24 hours of phototherapy, serum bilirubin levels of group 1 (8.0 mg/dL) were lower than those of group 2 (9.0 mg/dL) (p = 0.033). The rate of bilirubin reduction was significantly higher in group 1 compared to group 2 (p < 0.01). The infants of group 1 had less weight loss than group 2 at 24 hours after phototherapy (p = 0.04). Conclusion: Both designs of LED phototherapy were efficacious for treatment of neonatal hyperbilirubinemia. However, top-lighting design was superior to the bed design in reducing serum bilirubin levels.