ประสิทธิผลของโคมส่องไฟฟลูออเรสเซนต์และกระโจมส่องไฟแอลอีดี ในการรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

Main Article Content

วราลี เดชพุทธวัจน์
แสงแข ชำนาญวนกิจ

Abstract

 บทนำ โคมส่องไฟฟลูออเรสเซนต์เป็นเครื่องมือที่ใช้อย่างกว้างขวางในการรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด แต่โคมส่องไฟมีขนาด ใหญ่ไม่สะดวกในการเคลื่อนย้าย การสร้างนวัตกรรมกระโจมส่องไฟแอลอีดีอาจเป็นทางเลือกที่สะดวกในการรักษาทารกที่มีภาวะตัว เหลือง วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการลดระดับบิลิรูบินในเลือดของทารกที่มีภาวะตัวเหลือง โดยเปรียบเทียบการรักษา ด้วยนวัตกรรมกระโจมส่องไฟแอลอีดีกับโคมส่องไฟฟลูออเรสเซนต์ รูปแบบ เชิงทดลองแบบสุ่ม วิธีการศึกษา ทำการศึกษาใน ทารกที่มีภาวะตัวเหลืองและมีข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยการส่องไฟ อายุครรภ์ตั้งแต่ 35 สัปดาห์น้ำหนักแรกเกิดตั้งแต่ 2,500 กรัม คะแนน แอ๊พการ์ที่ 5 นาที มากกว่า 5 และอายุน้อยกว่า 14 วัน ทารกที่เข้าเกณฑ์จะได้รับการจัดกลุ่มโดยวิธีการสุ่มแบบ block of four กลุ่ม1 รักษาด้วยโคมส่องไฟฟลูออเรสเซนต์และกลุ่ม 2 รักษาด้วยกระโจมส่องไฟแอลอีดี ประเมินระดับบิลิรูบินในเลือดที่ 12 และ 24 ชั่วโมงภายหลังเริ่มส่องไฟ และที่ 4 ชั่วโมง ภายหลังหยุดส่องไฟ และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน ได้แก่น้ำหนักลด ไข้และภาวะตัวเย็น ผลการศึกษา ทารกเข้าร่วมในการศึกษา 154 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 77 ราย สาเหตุของภาวะตัวเหลือง อายุที่เริ่มส่องไฟ และ ระดับบิลิรูบินในเลือดก่อนส่องไฟไม่แตกต่างกัน อัตราการลดลงของระดับ บิลิรูบินที่ 12 และ 24 ชั่วโมงภายหลังเริ่มส่องไฟ และอัตรา การเปลี่ยนแปลงของระดับบิลิรูบินที่ 4 ชั่วโมงภายหลังหยุดส่องไฟไม่แตกต่างกัน ทารกทั้งสองกลุ ่มไม่มีความแตกต่างกันของน้ำหนัก ที่ลดลง และอัตราการเกิดภาวะไข้หรือภาวะตัวเย็น สรุป กระโจมส่องไฟแอลอีดีมีประสิทธิผลในการลดระดับบิลิรูบินในเลือดเท่าเทียม กับโคมส่องไฟฟลูออเรสเซนต์จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการนำมาใช้ในเวชปฏิบัติเพื่อรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

Efficacy of Fluorescent Lamp vs Light-Emitting Diodes (LED) Photo Dome for the Treatment of Neonatal Hyperbilirubinemia

Background: Phototherapy with fluorescent lamp is commonly used for the treatment of neonatal hyperbilirubinemia. The devices are usually large and difficult to move. An innovation of a compact LED photo dome may be a more convenient alternative phototherapy. Objectives: To determine that the innovation of compact LED photo dome was as efficacious as conventional fluorescent phototherapy for the treatment of neonatal hyperbilirubinemia. Methods: We conducted a non-inferiority, randomized controlled trial in infants with hyperbilirubinemia requiring phototherapy. All infants with hyperbilirubinemia requiring phototherapy, gestational age ≥ 35 weeks, birth weight ≥ 2,500 grams, Apgar scores at 5 minutes > 5 and aged < 14 days were enrolled to the study. Eligible infants were allocated to one of two groups using a block of 4 randomization. Group 1 received phototherapy
using florescent lamps while group 2 using compact LED photo dome. Serum bilirubin levels were measured every 12 hours after starting and at 4 hours after stopping phototherapy. Complications including weight loss, hyperthermia, hypothermia and burn were closely monitored. Results: One hundred fifty-four infants were enrolled to the study with 77 infants in each group. There were no differences in causes of hyperbilirubinemia, age at starting phototherapy and initial serum bilirubin levels between the groups. There were no differences between the groups in the rate of bilirubin reduction at 12 and 24 hours after starting and in the changes of serum bilirubin levels at 4 hours after stopping phototherapy. There were no differences in weight changes and rate of hyperthermia or hypothermia between the groups. Conclusion: The compact LED photo dome is as efficacious in bilirubin reduction as the conventional fluorescent phototherapy and can be used as a suitable alternative for the treatment of neonatal hyperbilirubinemia.

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)