ผลของการรับประทานยาลดความดันโลหิตผสมในช่วงเวลาแตกต่างกันต่อระดับ ความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่ทราบสาเหตุ

Main Article Content

ชัญญา ชมเชย
บัญชา สถิระพจน์

Abstract

ความเป็นมา ความดันโลหิตสูงในช่วงเช้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง การควบคุมความดันโลหิตแต่ละช่วงเวลาของวันจึงเป็นหลักสำคัญในการรักษาความดันโลหิตสูง ช่วงเวลาของการรับประทานยาผสมแบบขนาดคงที่ (fixed-dose combination) ส่งผลต่อระดับความดันโลหิตในแต่ละวัน แต่ผลดังกล่าวยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการรับประทานยาผสมระหว่าง amlodipine กับ valsartan ในช่วงก่อนนอนเปรียบ เทียบกับการรับประทานยาในช่วงเช้าในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยแบบสุ่มแบบเปิด cross-over ในผู้ป่วย ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดีด้วยยาลดความดันโลหิตสองชนิดมานานมากกว่า 3 เดือน จะถูกสุ่มมารับประทานยา amlodipine 10 มก./วัน กับ valsartan 160 มก./วัน ในช่วงเช้า หรือก่อนนอนเป็นเวลานาน 4 สัปดาห์จากนั้นสลับเปลี่ยนมารับประทานยาในอีกช่วงเวลาเป็นเวลา 4 สัปดาห์ความดันโลหิต ผลเลือดทางเมแทบอลิก และผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากยาถูก ประเมินทั้งก่อนและหลังทำการศึกษา ผลการศึกษา ผู้ป่วยเข้าร่วมวิจัย 37 รายเป็นความดันโลหิตสูงระดับ 2 แบ่งเป็นเพศชาย 16 ราย เพศหญิง 21 ราย อายุเฉลี่ย 57.0 ± 8.9 ปี และความดันโลหิตเฉลี่ย 133.5 ± 10.4 มิลลิเมตรปรอท ถูกสุ ่มมาเพื่อรับประทานยา ลดความดันโลหิตแบบ fixed-dose combination หลังการรักษาสามารถลดความดันโลหิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความ ดันช่วงหัวใจบีบตัว และช่วงหัวใจคลายตัวลดลง 4.3 และ 5.6 มิลลิเมตรปรอทตามลำดับหลังรับประทานยาในช่วงเช้า และความดัน ช่วงหัวใจบีบตัว และช่วงหัวใจคลายตัวลดลง 10.4 และ 8.7 มิลลิเมตรปรอทตามลำดับหลังรับประทานยาก่อนนอน (p < 0.001) ความดันช่วงหัวใจบีบตัวในช่วงเช้าลดลงเมื่อรับประทานยาก่อนนอนมากกว่ารับประทานยาช่วงเช้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ 122.3 ฑ 9.7 มิลลิเมตรปรอท เทียบกับ 129.2 ฑ 10.4 มิลลิเมตรปรอท (p = 0.008) แต่ไม่มีความแตกต่างของค่าความดันช่วงหัวใจคลาย ตัวในช่วงเช้าไม่ว่าจะรับประทานยาดังกล่าวในช่วงเช้าหรือเย็นก็ตามคือ 76.5 ฑ 9.4 มิลลิเมตรปรอทเทียบกับ 79.6 ฑ 9.5 มิลลิเมตร ปรอท (p = 0.132) นอกจากนี้ไม่มีความแตกต่างของการทำงานของไต เกลือแร่ในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด และไขมันในเลือดทั้ง ก่อนและหลังการรักษา และไม่พบผลข้างเคียงรุนแรงระหว่างการศึกษา สรุป การรับประทานยาลดความดันโลหิตแบบผสมระหว่าง angiotensin receptor blocker กับ calcium channel blocker ก่อนนอนสามารถควบคุมความดันโลหิตในช่วงเช้าได้ตามเป้าหมาย ของการรักษาได้ดีกว่าการรับประทานยาดังกล่าวในช่วงเช้า

Administration Time Dependent Effects of Fixed-Dose Antihypertensive Combinations on the Blood Pressure Control in Essential Hypertension

Background: Morning surge in blood pressure (BP) increases risk of cardiovascular and cerebrovascular events. Normalization of the circadian BP pattern is considered an important clinical goal of pharmacotherapy. Time of ingestion of fixed-dose antihypertensive combinations can affect circadian patterns of BP, but whether this translates into an effect on blood control is controversy. Objective: To examine the efficacy and safety of the bed time administration in amlodipine-valsartan combination therapy, as compared with the morning administration in hypertensive patients. Methods: In a randomized, open-labeled, two-way cross-over study, essential hypertensive patients with stable BP control with two antihypertensive agents at least 3 months will be treated for 4 weeks with either morning or bed time dosing of 160 mg valsartan and 10 mg amlodipine, followed by 4 weeks of switched treatment regimen. BP, metabolic profiles, and adverse events were measured at baseline and 8 weeks at the end of treatment program. Results: Thirty-seven patients with grade 2 essential hypertension (16 men and 21 women), 57.0 ± 8.9 years of age and 133.5 ± 10.4 mmHg of BP, randomly assigned to receive fixed-dose combinations. Combination therapy resulted in a similar statistically significant reduction of BP mean from baseline for both treatment-time groups (4.4/5.6 mmHg in systolic/diastolic BP after combination therapy on awakening; 10.4/8.7 mmHg reduction after combination treatment at bedtime, p < 0.001). The awake of systolic BP was lower in the bed time administration than in the morning administration (122.3 ± 9.7 vs. 129.2 ± 10.4 mmHg; p = 0.008), but there was no statistically significant difference in the awake of diastolic BP (76.5
± 9.4 vs. 79.6 ± 9.5 mmHg; p = 0.132). There was also no differences in BUN, serum creatinine, serum electrolytes, plasma glucose, total cholesterol, and low-density lipoprotein (LDL) cholesterol. No serious side effects were noted in any of the treated subjects. Conclusion: This study supports that among patients with essential hypertension, administration of angiotensin receptor blockers and calcium channel blockers at bedtime seems more apt than the morning dose to obtain the therapeutic goal.

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)