การเปรียบเทียบการใช้เครื่องตรวจกล่องเสียงชนิดวิดีโอ แมคกราธ รุ่น 5 และ ชนิดแมคอินทอช ในการเปิดทางเดินหายใจเพื่อนำสิ่งแปลกปลอมออกจากคอหอยส่วนล่างในหุ่นจำลอง โดยแพทย์ประจeบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
Main Article Content
Abstract
บทนำ การนำสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจส่วนต้นเป็นหัตถการที่ต้องใช้ความรวดเร็ว เพื่อช่วยชีวิตคนไข้ที่มีการอุดกั้นของ ทางเดินหายใจส่วนบน โดยส่วนใหญ่แล้วนิยมใช้เครื่องตรวจกล่องเสียงด้วยการดูโดยตรง (Direct laryngoscope) เพื่อนำสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจ แต่พบว่าการใช้เครื่องตรวจกล่องเสียงชนิดวิดีโอ มีอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจประสบผลสำเร็จสูงและมีแรงกระทำต่ออวัยวะภายในช่องปากน้อยกว่า ดังนั้นการใช้เครื่องตรวจกล่องเสียงชนิดวิดีโอ จึงน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี และมีประสิทธิภาพมากกว่า ในการเปิดทางเดินหายใจเพื่อนำสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพ การใช้เครื่องตรวจกล่องเสียงด้วยการดูโดยตรงชนิดแมคอินทอชและเครื่องตรวจกล่องเสียงชนิดวิดีโอ ในการเปิดทางเดินหายใจและนำสิ่งแปลกปลอมออกจากคอหอยส่วนล่าง วิธีการ Experimental study in manikin โดยผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นแพทย์ประจำบ้าน เวชศาสตร์ฉุกเฉินโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 25 คน ทำการเปิดทางเดินหายใจด้วยเครื่องตรวจกล่องเสียงทั้ง 2 ชนิด และนำสิ่งแปลกปลอมออกจากบริเวณคอหอยส่วนล่าง ผลการศึกษา จากผลการศึกษาพบว่าการนำสิ่งแปลกปลอมออกจากคอหอยส่วนล่าง ด้วยเครื่องตรวจกล่องเสียงชนิดแมคอินทอช ใช้ระยะเวลาน้อยกว่าเครื่องตรวจกล่องเสียงชนิดวิดีโดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3.99 vs 6.73; p < 0.001) สรุป การใช้เครื่องตรวจกล่องเสียงด้วยการดูโดยตรงชนิดแมคอินทอชใช้ระยะเวลาในการนำแปลกปลอมออก จากคอหอยสั้นกว่ากว่าเครื่องตรวจกล่องเสียงชนิดวิดีโอ
Comparison of McGrath® Series 5 Video Laryngoscope Versus Macintosh Laryngoscope for the Removal of Hypopharyngeal Foreign Body by Emergency Medicine Residents : A Manikin Study
Introduction: The video laryngoscope has been reported to improve the success rate of endotracheal intubation in both normal and difficult airways, decreased forces applied to oral structure and effective tool for intubation during chest compression. Objective: To compare effective of McGrath® series 5 video laryngoscope versus Macintosh laryngoscope for the removal of hypopharyngeal foreign body by emergency medicine residents in a manikin. Methods: In this experimental manikin base study, 25 emergency medicine residents were asked to remove the simulated foreign body from the hypopharyngeal area of a LaerdalTM SimManTM manikin. Participants performed the removal maneuver 3 times by using Macgill forcep with both Macintosh laryngoscope and video laryngoscope to open the airway, which performed 1 week apart for each method. We measured the time intervals
(detection of foreign body and removal of foreign body) and compared results between 2 types of laryngoscope. Results: The average time intervals, both detection of foreign body (1.86 vs 2.98 sec) and removal of foreign body (2.15 vs. 4.15 sec) were significantly shorter in video laryngoscope. Conclusion: This study suggests that Macintosh laryngoscope has significantly higher effectiveness for foreign body removal than video laryngoscope.