การติดตามการลดลงของอัตราการกรองของไตระยะยาว ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
Main Article Content
Abstract
ความเป็นมา เบาหวานเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของทั่วโลก และโรคไตจากเบาหวานจัดเป็นสาเหตุหลักของโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยลักษณะของการดำเนินของการทำงานของไตในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีความแตกต่างกัน จากหลักฐานการศึกษาที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า การดำเนินโรคทางคลินิกของโรคไตจากเบาหวานมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก น่าจะเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลง ในการรักษา วัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบอัตราการลดลงของอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตามระยะต่างๆ ของ โรคไต วิธีการศึกษา ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งหมด 297 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่มีแอลบูมินในปัสสาวะปกติ 175 ราย ไมโครแอลบู มินในปัสสาวะ 98 ราย และแมคโครแอลบูมินในปัสสาวะ 24 ราย ถูกคัดเลือกเข้าสู่การศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อน หลัง โดยศึกษาถึง 1) อาการทางคลินิกเบื้องต้นและพารามิเตอร์การทำงานของไตและ 2) การตรวจอัตราการกรองของไตแรกเริ่มการศึกษา และติดตามเป็นระยะเวลา 60 เดือน ผลการศึกษา ผู้ป่วยเป็นเพศชาย 143 ราย หรือร้อยละ 48.1 อายุเฉลี่ย 59.2 ± 11.2 ปี กลุ่มแอลบูมินในปัสสาวะปกติมีอัตราการกรองของไตลดลง -1.8 ± 2.2 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตรต่อปี จากอัตราการกรองของ ไตตั้งต้น 85.6 ± 20.3 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร กลุ่มไมโครแอลบูมินในปัสสาวะมีอัตราการกรองของไตลดลง -1.9 ± 3.1 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตรต่อปีจากอัตราการกรองของไตตั้งต้น 72.3 ± 23.1 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร และกลุ่มแมคโคร แอลบูมินในปัสสาวะมีอัตราการกรองของไตลดลง -3.1 ± 2.9 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตรต่อปีจากอัตราการกรองของไตตั้งต้น 64.7 ± 29.8 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร โดยพบว่า มีอัตราการกรองของไตลดลงแตกต่างกันระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p = 0.016) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ระดับครีแอทินินในเลือดแรกรับเป็นปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการลดลงของอัตรา การกรองของไต (p = 0.001) และจากการติดตามจนสิ้นสุดการศึกษาพบผู้ป่วยที่เป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 3 ราย หรือร้อยละ 1 สรุป การศึกษานี้บ่งชี้ว่า การลดลงของอัตรากรองของไตเป็นไปแบบช้าๆ ในผู ้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และการลดลงของอัตราการกรอง ของไตสัมพันธ์กับระยะของโรคไตจากเบาหวาน นอกจากนี้การเสื่อมของทำงานของไตตั้งแต่แรกจะเพิ่มความเสี่ยงสำหรับการลดลงของ การทำงานของไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
Long-term Follow-up of Decline Glomerular Filtration Rate in Type 2 Diabetic Patients
Background: Diabetes is a worldwide public health problem and diabetic nephropathy is the leading cause of the end stage renal disease (ESRD). Patterns of renal progression in type 2 diabetes are heterogeneous. Accumulating evidence indicates that clinical course of diabetic nephropathy has changed profoundly, likely as a consequence of changes in treatment. Objective: To examine the rate of glomerular filtration rate (GFR) decline in type 2 diabetic patients according to stages of nephropathy. Methods: A total of 297 type 2 diabetic patients, 175 with normoalbuminuria, 98 with microalbuminuria and 24 with macroalbuminuria, were recruited into a retrospective cohort study that encompassed: 1) baseline clinical and renal parameters; and 2) determinations of GFR at baseline and follow-up for up to 60 months. Results: There was 143 males (48.1%) with mean age of 59.2 ± 11.2 years. In the normoalbuminuric group, GFR decreased from 85.6 ± 20.3 mL/min/1.73 m2 with a rate of decline in GFR of -1.8 ± 2.2 mL/min/1.73 m2 per year, in the microalbuminuric group from 72.3 ± 23.1 mL/min/1.73 m2 with a rate of decline in GFR of -1.9 ± 3.1 mL/min/1.73 m2 per year, and in the macroalbuminuric group from 64.7 ± 29.8 mL/min/1.73 m2 with a rate of decline in GFR of -3.1 ± 2.9 mL/min/1.73 m2 per year, p = 0.016 between groups. Correlation analysis indicated that levels of serum creatinine was the main factor associated with the decrease in GFR (p < 0.001). At the end of the follow-up, 3 patients (1%) had ESRD. Conclusion: This study indicates a tendency to a slow rate of decline in renal function in type 2 diabetic patients, and rate of decline in GFR relates to stage of nephropathy. Impaired renal function at the onset of disease resulted in an increased risk for declining renal function in type 2 diabetes patients.