การหาความชุกของความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ ในพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ปี พ.ศ. 2556
Main Article Content
Abstract
ความเป็นมา เขตนิคมอุสาหกรรมมาบตาพุด เป็นพื้นที่ที่มีรายงานถึงมลพิษที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ แต่การ รายงานความชุกของความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ยังไม่มีการรายงานที่ถี่ถ้วนและไม่มีการวิเคราะห์ที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ เพื่อหาความชุกของความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดในมารดาที่มาคลอดที่โรงพยาบาล มาบตาพุด และ โรงพยาบาลระยอง วิธีการศึกษา แพทย์และพยาบาลของโรงพยาบาลรัฐในพื้นที่เป็นผู ้เก็บข้อมูลทารกพิการแต่กำเนิด ของมารดาที่มาคลอด ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ผลการศึกษา ความพิการแต่กำเนิดต่อ ทารกคลอดมีชีวิต 1,000 รายมีความชุกรวมเท่ากับ 4.3 แบ่งเป็นความพิการของแขนขาซึ่งพบมากเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นความชุก 1.93 ต่อทารกคลอดมีชีวิต 1,000 ราย อันดับสอง โรคกลุ่มอาการดาวน์คิดเป็น 0.74 อันดับสาม ปากแหว่ง-เพดานโหว่0.6 อันดับสี่ หัวใจพิการแต่กำเนิด 0.45 และภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานบกพร่อง 0.3 นอกนั้นเป็นความพิการของทางเดินอาหาร (jejunal atresia) Goldenhar syndrome และ Noonan syndrome อย่างละ 0.15 สรุปและวิจารณ์ การวิจัยครั้งนี้ต้องการแสดงถึงความชุกของ ความพิการแต่กำเนิดเพื่อเป็นข้อมูลใช้เปรียบเทียบกับความพิการแต่กำเนิดที่เกิดขึ้นในพื้นที่อื่นของประเทศ ไม่สามารถแสดงความ สัมพันธ์เกี่ยวโยงโดยตรงไปถึงผลที่เกิดจากมลพิษในพื้นที่ได้ส่วนการวิเคราะห์ที่สาเหตุของความพิการแต่กำเนิดพบว่าทารกบางรายมี ปัจจัยเสี่ยงที่ค่อนข้างแน่ชัด แต่ทารกพิการจำนวนมากไม่พบปัจจัยเสี่ยงที่แน่ชัด
The Prevalence of Congenital Anomalies in the Area of Map Ta Phut Industrial Estate in 2013
Background: Map Ta Phut Industrial Estate is the pollution area that has influence on the health of people. The accurate prevalence of congenital anomalies in newborn babies in this area has never been analyzed. Objective: To identify prevalence of congenital anomalies in the newborn babies delivered at Map Ta Phut Hospital and Rayong Hospital. Methods: The cross sectional study of congenital anomalies were recorded between 1 January to 31 December 2014 by doctors and nurses of Map Ta Phut Hospital and Rayong Hospital. Result: The prevalence of congenital anomalies per 1,000 live-birth was 4.3. Limb anomalies were the most common which their prevalence was 1.93 per 1,000 live-birth. The second was Down syndrome and the prevalence was 0.74. The third was cleft lip-cleft palate which showed the prevalence of 0.6. The fourth was congenital heart diseases
and congenital hypothyroidism and its prevalence was 0.45 and 0.3, respectively. For other anomalies such as jejuna atresia, Goldenhar syndrome and Noonan syndrome, the prevalence of each anomaly was 0.15. Conclusion: This study reveals the prevalence of congenital anomalies which can be used for for comparison to the other areas of Thailand. The result was unable to demonstrate the association with the effect of pollution in such a polluted area. Considering the cause of congenital anomalies, there were risk factors identified in some newborn babies. Nevertheless, many cases could not detect any risk for anomalies.