Content and Stability of Total Phenolic Compounds and Antioxidant Capacity of Matured Shallot Bulbs’ Extract (Allium ascalonicum L.)
Main Article Content
Abstract
Background: Due to restrictions of nutritional data and researches on shallots of Srisaket variety (Allium ascalonicum L.), their value-added applications have been found to be limited. Objectives: To examine content and stability of total phenolic compounds and antioxidant capacity of matured shallot Bulbs (Srisaket variety). Materials and Methods: Matured bulb samples were processed to be extracted by using aqueous extraction, prior to analysis for total phenolic compounds and antioxidant capacity. For stability study in native bulbs, both parameters were assessed monthly. Results: From 21 samples analyzed, the highest values of total phenolic compounds of 369.54-406.92 mg/g dried weight, were found in the peel part, comparing to the values of 190.56-221.34 mg/g dried weight of the whole bulbs, and 115.13-128.93 mg/g dried weight of the inner part. In the case
of antioxidant capacity, levels of 0.130-0.162, 0.113-0.128, and 0.007-0.009 mg/g dried weight were assayed in the peel part, whole bulbs and the inner part, respectively. In term of stability, no significant changes of both parameters were observed in any parts of bulb samples, when stored at room temperature conditions for three months. Conclusions: The highest levels of total phenolic compounds and antioxidant capacity were found in the peel part of matured shallot bulbs of Srisaket variety, and their stability of native bulbs were not changed for at least three months.
Keywords: l Shallot
ปริมาณ และเสถียรภาพ ของสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากหัวหอมแดงสายพันธุ์ศรีสะเกษ
ความเป็นมา เนื่องจากงานวิจัยและข้อมูลทางโภชนาการของหอมแดงสายพันธุ์ศรีสะเกษมีอย่างจำกัด จึงส่งผลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับหอมแดง วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาปริมาณและเสถียรภาพของสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสาร สกัดจากหอมแดงสายพันธุ์ศรีสะเกษ วิธีการศึกษา ตัวอย่างหอมแดงสายพันธุ์ศรีสะเกษที่เจริญเต็มที่ ถูกนำมาสกัดด้วยวิธีการสกัด ด้วยน้ำ จากนั้นทำการวิเคราะห์หาค่าสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด และค่าฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในสารสกัดดังกล่าว และทำการศึกษา เสถียรภาพโดยการวิเคราะห์หาค่าสารทั้งสองชนิดนี้ในตัวอย่างหอมแดงทุกๆเดือน ผลการศึกษา จากการวิเคราะห์ตัวอย่างหอมแดง ที่เจริญเต็มที่จำนวน 21 ตัวอย่าง พบว่า ค่าสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดจากสารสกัดส่วนเปลือกนอก มีค่าสูงสุดเท่ากับ 369.54-406.92 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้งสกัดแห้ง เทียบกับค่าที่พบในสารสกัดของส่วนทั้งหัวและส่วนชั้นใน เท่ากับ 190.56-221.34 และ 115.13- 128.93 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ กรณีของค่าฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ พบว่าสารสกัดจากส่วนเปลือกนอก ส่วนทั้งหัว และ ส่วนชั้นใน มีค่าเท่ากับ 0.130-0.162, 0.113-0.128, และ 0.007-0.009 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ เมื่อทำการเก็บตัวอย่าง หอมแดงไว้ที่สภาวะอุณหภูมิห้องเป็นระยะเวลาสามเดือน พบว่า ค่าสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและค่าฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่วิเคราะห์ ในสารสกัดจากตัวอย่างหอมแดง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ สรุป สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ พบว่ามีค่าสูงสุดในส่วนเปลือกนอกของหัวหอมแดงสายพันธุ์ศรีสะเกษ และคงอยู่ได้นานอย่างน้อย 3 เดือน