การประเมินหลักสูตร การฝึกตามหน้าที่พลทหารกองประจำการ และผู้ปฏิบัติการ ฉุกเฉินเบื้องต้น ของเหล่าทหารแพทย์ กองพันเสนารักษ์ที่ 8

Main Article Content

อัทคพล มลอา
ปราณี อ่อนศรี
นิธิไชย บุญไชย

Abstract

ความเป็นมา กองพันเสนารักษ์ที่ 8 รับผิดชอบในการจัดหลักสูตร การฝึกตามหน้าที่พลทหารกองประจำการของเหล่าทหารแพทย์และได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเพื่อศักยภาพให้กับพลทหารกองประจำการ และเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน จึงได้นำหลักสูตร ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (First Responder) มาจัดการเรียนการสอน ใช้เวลาในการศึกษาจำนวน 354 ชั่วโมง ระยะเวลา 8 สัปดาห์เพื่อให้พลทหารกองประจำการได้รับการรับรองจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน สามารถปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของแพทย์และพยาบาลในการช่วยเหลือผู ้บาดเจ็บนอกโรงพยาบาล และได้เล็งเห็นถึงความก้าวหน้าในอนาคตเมื่อพลทหารปลดออกจากกรมกอง สามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานทางการแพทย์ฉุกเฉินได้ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจึงควรมีการประเมินหลักสูตร เพื่อ ปรับปรุงให้สอดคล้องกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบัน วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินหลักสูตรการฝึกตามหน้าที่ พลทหารกองประจำการ และผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น ของเหล่าทหารแพทย์กองพันเสนารักษ์ที่ 8 ในด้านปัจจัยนำเข้า ด้าน การดำเนินการจัดอบรม และด้านผลผลิตจากการจัดอบรม วิธีการ มีผู ้เข้ารับการอบรมจำนวน 42 คน ตอบแบบสอบถามประเมิน หลักสูตรแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีระดับความเชื่อมั่น .90 จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นพลทหาร เพศชาย คิดเป็นร้อยละ 100 อายุระหว่าง 20-25 ปี คิดเป็นร้อยละ 100 ปัจจัยนำเข้าที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ด้านผู้เข้ารับการอบรมพบว่า เนื้อหาของหลักสูตรมีความเหมาะสมกับผู ้อบรมในครั้งนี้ (x̄= 4.26) ด้านวิทยากร พบว่า มีบุคลิกภาพที่ดี น่าเชื่อถือ (x̄= 4.44) ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้พบว่า สื่อ โสตทัศนูปกรณ์มีความเหมาะสม (x̄= 4.30) สำหรับกระบวนการจัดอบรมพบว่า ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̄= 4.42) สำหรับผลผลิตจากการ อบรมพบว่า ความรู้ที่ผู้เข้ารับการอบรมได้รับมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่การฝึกเปล และการลำเลียงผู้ป่วย (x̄= 4.49) การ ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (x̄= 4.40) การพยาบาลทั่วไป การฝึกปัจจุบันพยาบาล และระบบการแพทย์ฉุกเฉิน มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากัน (x̄= 4.35) สรุป การประเมินหลักสูตรโดยรวมอยู่ในระดับดี การฝึกตามหน้าที่พลทหารกองประจำการ และผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน เบื้องต้น ผู ้เข้ารับการอบรมให้ความคิดเห็นว่า เป็นหลักสูตรที่มีความสำคัญมาก เนื่องมาจากความรู ้และการปฏิบัติที่ได้นอกจากการ ดูแลผู้ป่วยในสนามแล้ว ยังมีความรู้ความสามารถที่จะให้การดูแลผู้ป่วยทั่วไปเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินได้อีก เนื่องมาจากเป็นหลักสูตรที่ ผ่านการรับรองของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน เพราะเมื่อผ่านหลักสูตรนี้พลทหารจะมีความสามารถ ในการเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บอย่าง มั่นใจ และมีประสิทธิภาพทำให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มศักยภาพ และเห็นควรให้มีการจัดหลักสูตรผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้อง ต้นในรุ่นต่อไป

An Evaluation of Regular Duty Training and Emergency First Responder Program for Privates Stationed at the 8th Medical Battalion

Background: The 8th Medical Battalion is responsible for providing regular duty training for active duty privates stationed at the battalion and realizes the importance of the potential reinforcement operational empowerment, and capability improvement. Therefore, the Emergency First Responder Program has been used to train the privates. The program lasts 354 hours (8 week). After the program completion, the privates will be given a certificate approved by the National Institute of Emergency and will be capable to help the injured and emergency patients in pre-hospital settings under supervision of doctors and nurses when they are discharged from the military. The course needs to be continuously evaluated for ongoing improvement to address the needs of the changing society. Objective: This study aimed to evaluate input, process and output of the regular duty training and Emergency First Responder Program. Methods: There were 42 participants asked to rate their opinion on the course using five point Likert scale in the questionnaires (reliability = .90). The collected data were analyzed using mean and standard deviation. Results: The results showed that all participants (100%) were male, aged 20-25 years. For the inputs, appropriateness of the teaching content had the highest mean (x̄ = 4.26). In the lecturer aspect, the highest mean was the lectures’ personality (x̄ = 4.44). For learning support resources, audiovisual media were found appropriate (x̄ = 4.30). In terms of process, encouraging students to practice skills had the highest mean (x̄ = 4.42). In relation to the output, the top -3 knowledge gained include: 1) use of a stretcher patient transfer (x̄ = 4.49), 2) basic life support (x̄ = 4.40) and 3) general care, emergency medical practice and emergency medical service system which had the same average score (x̄ = 4.35) respectively. Conclusion: The overall course evaluation was in satisfied level. The participants commented that the course is very useful, because the knowledge and practice can be applied to provide patient care not only in the battlefield, but also in any emergency incidents. When the soldier completed the course, they competencies to confidently help patients and enhance optimal functioning at full capability. It is recommended that this program should be continued for other privates in the future.


Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)