ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจงของทหารสื่อสาร ที่ทำงานอยู่ใกล้และไกลเสาส่งสัญญาณโทรทัศน์แห่งหนึ่ง

Main Article Content

พุทธิชัย แดงสวัสดิ์
วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี
ภัทรพงษ์ ผาสุขกิจ
บุญเติม แสงดิษฐ

Abstract

 ความเป็นมา บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเสาส่งสัญาณโทรทัศน์นั้นมีโอกาศสัมผัสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสามากกว่าประชากรทั่วไป วัตถุประสงค ์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจงของทหารสื่อสารที่ท ำงานอยู ่ใกล้และไกลเสา ส่งสัญญาณโทรทัศน์แห่งหนึ่ง วิธีการวิจัย เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดใดจุดหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ทหารสื่อสารที่อยู่ใกล้และ ไกลเสาส่งสัญญาณโทรทัศน์จำนวน 339 และ 283 คนตามลำดับ เก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามที่ดัดแปลงมาจากแบบสอบถาม อาการและการรับรู้[Symptoms and Perceptions (SaP) questionnaire] และการวัดความเข้มสนามแม่เหล็กไฟฟ้า และระยะห่าง จากเสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ของห้องทำงาน ผลการวิจัย ความเข้มของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความถี่ของเสาโทรทัศน์(average) และในช่วงความถี่รวม (integrate) ในหน่วยใกล้และไกลเสาส่งสัญญาณโทรทัศน์มีค่า 0.00020-0.67310 และ 0.00011-0.00115 W/m2 และ 2.79-4062.65 และ 17.48-1370.16 μW/m2ตามลำดับ ซึ่งค่าดังกล่าวไม่พบว่ามีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานของ the Inter­national Commission on Non-Ionizing Radiation Protection (ICNIRP) ทั้งค่าที่กำหนดไว้สำหรับ กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยว คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและกลุ ่มคนทั่วไป อัตราความชุกของอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจง ในหน่วยทหารสื่ อสารใกล้เสาและไกลเสาโทรทั ศน์คือ 7.9 และ 6.4% ซึ่งไม่มีความแตกต่างกัน อาการที่พบบ่อยที่สุด คือ อาการเมื่อยล้า (52.51 และ 42.40% ในหน่วยที่อยู่ใกล้และไกล เสา) ปวดหลัง ปวดต้นคอ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจง คือ เพศ รายได้การมีโรคประจำตัวเป็นโรคภูมิแพ้การที่ญาติสายตรงมีโรคประจำตัว การได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในการตั้งเสาโทรทัศน์การสูบบุหรี่ เมื่อควบคุม ปัจจัยอื่นๆ ส่วนความเข้มสนามแม่เหล็กไฟฟ้าช่วงความถี่เสาโทรทัศน์และความถี่รวม และระยะห่างจากเสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ไม่มี ความสัมพันธ์กับอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจง สรุป จึงควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมโดยใช้การประเมินการสัมผัสคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าของ บุคคลอย่างละเอียดขึ้นก่อนที่จะยืนยันได้ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรทัศน์มีผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่

Prevalence and Associated Factors of Non-specific Health Symptoms among Signal Corps Personnel Working Near and Far Away From Television Tower

Background: Health effects of electromagnetic fields on the subjects who are more exposed to electromagnetic fields have never been studied in Thailand. Objective: Objective of this cross-sectional study was to determine the prevalence and associated factors of non-specific health symptoms among signal corps personnel working near and far away from a television tower. Study Design: Cross-sectional descriptive study. Setting: This study was conducted in June, 2016 among the non-randomly selected 339 and 283 signal corps who were positioned near and far away from a television tower respectively. Methods: Symptoms and Perceptions (SaP) questionnaire and measured the power density at a frequency range of a television tower (average) and of all frequency range (integrate) measured near and far away from the television tower. Result: This study had showen that the power density at a frequency range of a television tower (average) and of all frequency range (integrate) measured near and far away from the television tower were 0.00020-0.67310 and 0.00011-0.00115 W/m2 and 2.79-4062.65 and 17.48-1370.16 μW/m2, respectively. These measured densities did not exceed the International Commission on Non-Ionizing Radiation Protection (ICNIRP) standard values for workers who involve with electromagnetic wave or general public. The prevalence of non-specific health symptoms in both groups were 7.9% and 6.4%, respectively. Fatigue was the most frequent reported symptom in both groups (52.51% and 42.40% respectively), followed by lower back pain and neck sprain. Factors related to non-specific health symptoms were gender, income, presence of allergy, family history of disease, and cigarette smoking. In addition,
with other factors being controlled, our result suggested that average power density, integrate power density, and distance were not correlated to the risk of having non-specific health symptoms. Conclusion: Further studies with more refinement on the individuals’ electromagnetic exposure assessment are needed to confirm or obviate the possible health impact of the electromagnetic radiation from television tower.


Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)