ประสิทธิผลของการประยุกต์โปรแกรมเลิกบุหรี่ ในทหารกองประจำการผลัดที่ 1/2559 กองร้อยพลเสนารักษ์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

ปรีดี บัญญัติรัชต
วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี
ดุสิต จันทยานนท์
พิชัย แสงชาญชัย

Abstract

วัตถุประสงค์ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการประยุกต์โปรแกรมเลิกบุหรี่ที่ใช้ในคลินิกเลิกบุหรี่ กองจิตเวชและ ประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในการบำบัดทหารกองประจำการให้เลิกบุหรี่ วิธีการศึกษา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการ ใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม ได้กลุ่มทดลอง จำนวน 51 คน และกลุ ่มควบคุม จำนวน 53 คน ทั้งสองกลุ ่มจะได้รับการบ ำบัดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์เก็บข้อมูลพื้นฐานก่อนการทดลองและติดตามผลสัปดาห์ที่ 12 โดยวัดคะแนนการติดนิโคติน (Fagerstrom test) และคะแนนบันไดของความพร้อมในการเลิกบุหรี่ (The readiness to quit ladder) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired t-test และ Independence t-test ผลการศึกษา พบว่า อัตราการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จในกลุ ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเท่ากับ ร้อยละ 25.6 (10 จาก 39 คน) และ ร้อยละ 7.5 (3 จาก 40 คน) ตามลำดับ โดยในกลุ ่มทดลองมีคะแนนการติดนิโคตินลดลง และมีคะแนนบันไดความ พร้อมในการเลิกบุหรี่เพิ่มขึ้น แต่ไม่มีความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม สรุป โปรแกรมเลิกบุหรี่ในทหารกองประจำการ ที่ใช้การบำบัดอย่างย่อ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลระยะสั้น อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องได้มีการศึกษาถึงประสิทธิผลระยะยาวของโปรแกรม เพิ่มเติม

Effectiveness of the Smoking Cessation Program Applying for the Conscript 1/2016 of the Medical Company, Phramongkutlkao Hospital

Objective: The purpose of this quasi-experiment research was to determine the effectiveness of the smoking cessation program of the Smoking Cessation Clinic at the Department of Psychiatry and Neurology, Phramongkutklao Hospital among the army conscripts. Methods: The sample was selected by cluster sampling into 51 and 53 respondents for the experimental and control (usual care) groups respectively. Both groups participated in the 6 consecutive weekly activities. The data were collected at baseline and week 12 by using the Fagerstorm test and the readiness to quit ladder, and the analyses were conducted by Paired and Independence t-tests. Results: The smoking cessation rates in the experimental and control groups were 25.6% (10 out of 39 respondents) and 7.5% (3 out of 40 respondents) respectively. Although the Fagerstrom test score decreased and the readiness to quit ladder score increased in the experimental group, however these changes were not significantly differ from the control group. Conclusion: this study demonstrated the short-term effectiveness of the “brief intervention” smoking cessation program among the army conscripts, however its longer term effectiveness needs further investigation.

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)