การวัดปริมาณยา Rivastigmine รูปแบบแผ่นแปะด้วยวิธีที่ประหยัดและรวดเร็ว โดยการวัดการดูดกลืนความเข้มแสง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ ยา rivastigmine ที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์มีหลายรูปแบบ ยาในรูปแบบแผ่นแปะถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา ลดผลข้างเคียงจากยา และลดความถี่จากการบริหารยารูปแบบรับประทาน อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ปริมาณยา rivastigmin ในรูปแบบแผ่นแปะโดยวิธีตรงยังมีค่อนข้างจำกัด วัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและศึกษาการวิเคราะห์ปริมาณยา rivastigmine ในรูปแบบแผ่นแปะด้วยวิธีการวัดการดูดกลืนความเข้มของแสง ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายไม่สูง รวมถึงการทดสอบความน่าเชื่อถือด้วยการวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์เชิงเส้น ความเที่ยงตรง ความแม่นยำ และความสามารถในการทวนซ้ำของเครื่องมือวัด วิธีการ สกัดตัวยา rivastigmine จากแผ่นยาด้วยน้ำบริสุทธิ์ โดยสกัดแผ่นยาในอัตราส่วนที่ต่างๆ กัน แล้ววัดค่าการดูดกลืนคลื่นแสงเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงเส้นและวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ส่วนการวัดค่าความเที่ยงตรงของวิธีการตรวจ นั้นวิเคราะห์จากค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ที่ได้จากการวัดค่าในวันเดียวกัน ต่างวันกัน และการทวนซ้ำ ความเที่ยงวัดโดยการตรวจวัดระดับ rivastigmine ความเข้มข้นต่างๆ และยาหลอก และหาค่าร้อยละการตรวจสอบค่าคืนกลับ ผลการศึกษา ค่าการดูดกลืนคลื่นแสงสูงสุดของยา rivastigmine เท่ากับ 260 นาโนเมตร ความสัมพันธ์เชิงเส้นของอัตราส่วนยา กับค่าการดูดกลืนความเข้มแสงมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มากกว่า 0.99 สำหรับความเที่ยงตรงที่วิเคราะห์จากค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ที่ได้จากการวัดค่าในวันเดียวกัน ต่างวันกัน และความสามารถในการทวนซ้ำของเครื่องมือ มีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 3.5-1.0 ร้อยละ 2.5-0.4 และน้อย กว่าร้อยละ 1.0 ตามลำดับ ส่วนการตรวจสอบค่าคืนกลับได้ผลลัพธ์ระหว่างร้อยละ 90-110 การตรวจวิเคราะห์สารแต่ละครั้งใช้เวลาน้อยกว่า 2 ชั่วโมง สรุป การตรวจหาปริมาณยา rivastigmine จากการศึกษานี้เป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายต่ำ ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาทางคลินิก และด้านเภสัชจลนศาสตร์ที่เกี่ยวกับกระบวนการดูดซึมยาผ่านผิวหนังได้
Article Details
References
2. Kurz A, Farlow M, Lefèvre G. Pharmacokinetics of a novel transdermal rivastigmine patch for the treatment of Alzheimer’s disease: a review. Int J Clin Pract. 2009;63:799-805.
3. Emre M, Bernabei R, Blesa R, Bullock R, Cunha L, Daniëls H, et al. Drug profile: transdermal rivastigmine patch in the treatment of Alzheimer disease. CNS Neurosci Ther. 2010;16:246-53.
4. Darreh-Shori T, Jelic V. Safety and tolerability of transdermal and oral rivastigmine in Alzheimer’s disease and Parkinson’s disease dementia. Expert Opin Drug Saf. 2010;9:167-76.
5. Kurz A, Farlow M, Lefevre G. Pharmacokinetics of a novel transdermal rivastigmine patch for the treatment of Alzheimer’s disease: a review. Int J Clin Pract. 2009;63:799-805.
6. Winblad B, Cummings J, Andreasen N, Grossberg G, Onofrj M, Sadowsky C, Zechner S, Nagel J, Lane, R. A six-month doubleblind, randomized, placebo-controlled study of a transdermal patch in Alzheimer’s disease - Rivastigmine patch versus capsule. International Journal of Geriatric Psychiatry. 2007;22:456-67.
7. Darreh-Short T, Jelic V. Safety and tolerability of transdermal and oral rivastigmine in Alzheimer’s disease and Parkinson’s disease dementia. Expert Opin Drug Saf. 2010;9:167-76.
8. Simon A, Amaro MI, Healy AM, Cabral LM, de Sousa VP. Comparative evaluation of rivastigmine permeation from a transdermal system in the Franz cell using synthetic membranes and pig ear skin with in vivo-in vitro correlation. Int J Pharm. 2016;512:234-41.
9. Kale MN. Development of validated RP-HPLC method for quantitative estimation of rivastigmine hydrogen tartrate in transdermal drug delivery system. J Pharm Sci Res. 2014;5:1892-902.
10. Sharmila SK, Srilakshimi M, Renukadevi G, Rahaman SA, Shanthakumari K. Development and validation of UV-spectrophotometric method for the estimation of rivastigmine tartrate in bulk and pharmaceutical dosage form. Indo American Journal of Pharmaceutical Research. 2013;3:8394-9.
11. Pedroso TM, Salgado RRN. Validation of analytical methodology for quantification of cefazolin sodium pharmaceutical dosage form by high performance liquid chromatography to be applied for quality control in pharmaceutical industry. Braz J Pharm Sci. 2014;50:213-23.
12. Chavan RR, Bhinge SD, Bhutkar MA, Randive DS. Development and validation of spectrophotometric methods for simultaneous estimation of furosemide and spironolactone by Vierordt’s method in bulk and combined tablet dosage form. ACTA CHEMICA IASI 2018:26:74-90.
13. Hasin F, Mukhlasy H, Hussain I, Hossain M, Hasan M. Validation of spectrophotometric dissolution method for modified release trimetazidine pharmaceutical dosage form. J Innov Pharm Biol Sci. 2017;4:68-73.
14. Desai VN, Afieroho OE, Dagunduro BO, Okonkwo TJ, Ndu CC. A simple UV spectrophotometric method for the determination of leveofloxacin in dosage formulation. Trop J Pharm Res. 2011;10:75-9.