ผลของการใช้ยา Progesterone เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในสตรีตั้งครรภ์เดี่ยวระหว่างอายุครรภ์ 24 – 36 สัปดาห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ การให้ยา Progesterone ระหว่างอายุครรภ์ 24 – 36 สัปดาห์ แก่สตรีตั้งครรภ์ที่มีเกณฑ์การคลอดก่อนกำหนด ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดของการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาผลของการใช้ยา Progesterone เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด โดยเปรียบเทียบยา Progesterone ระหว่างกลุ่ม Intramuscular และกลุ่ม Vaginal ในประเทศไทยมาก่อน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ยา Progesterone เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในสตรีตั้งครรภ์เดี่ยวระหว่างอายุครรภ์ 24 – 36 สัปดาห์ และศึกษาผลของยา Progesterone ที่มีต่อทารกแรกเกิด วิธีการศึกษา เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง ประชากร คือ สตรีตั้งครรภ์เดี่ยวที่มีเกณฑ์คลอดก่อนกำหนดและได้รับยา Progesterone ระหว่างอายุครรภ์ 24 – 36 สัปดาห์ โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลอง คือ กลุ่มสตรีที่ได้รับการฉีดยา 17 OHPC ขนาด 250 มก. (Intramuscular) จำนวน 37 ราย และกลุ่มควบคุม คือ สตรีที่ได้รับการสอดยา Natural micronized progesterone ขนาด 200 มก. (Vaginal) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square tests และ Independent t-test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.05 ผลการวิจัย พบว่าความยาวปากมดลูกขณะได้รับยา Progesterone ครั้งแรก มีความสัมพันธ์กับยา Progesterone ทั้ง 2 รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) สำหรับผลของการใช้ยา Progesterone ที่มีต่อการคลอดพบว่า สตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับยา Progesterone กลุ่ม Vaginal มีอายุครรภ์เฉลี่ยขณะคลอดมากกว่ากลุ่ม Intramuscular อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.020) โดยกลุ่ม Vaginal และกลุ่ม Intramuscular มีอายุครรภ์เฉลี่ยขณะคลอดที่ 36.96 ± 1.97 สัปดาห์ และ 35.71 ± 1.87 สัปดาห์ ส่วนผลของการใช้ยา Progesterone ที่มีต่อทารกแรกเกิดพบว่า สตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับยา Progesterone กลุ่ม Vaginal มีจำนวนวันนอนที่แผนก NICU ของทารกแรกเกิดน้อยกว่ากลุ่ม Intramuscular อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.047) โดยกลุ่ม Vaginal และกลุ่ม Intramuscular มีจำนวนวันนอนที่แผนก NICU ของทารกแรกเกิดเฉลี่ย 7.54 ± 1.04 วัน และ 13.79 ± 1.81 วัน สรุป อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ของ Vaginal Progesterone ที่มีประสิทธิผลในด้านอายุครรภ์เฉลี่ยขณะคลอดและจำนวนวันนอนที่แผนก NICU ของทารกแรกเกิดที่ดีกว่า Intramuscular ดังนั้น สูตินรีแพทย์จึงควรพิจารณาจ่ายยา Vaginal Progesterone ให้แก่สตรีตั้งครรภ์ที่มีเกณฑ์คลอดก่อนกำหนด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Wanitpongpan P, Russameecharoen K, Lertbunnaphong T, editor, Modern text book of obstetrics. Bangkok: Department of Obstetrics and Gynaecology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, 2017.
World Health Organization. Preterm birth. [Internet]. [Cited 2022 Jul 17]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/preterm-birth.
Kaewsiri P, Hemadhulin S, Ansook P, Naosrisorn P. The empowerment of pregnant women to prevent the risk of preterm labor: nurse’s roles. Srinagarind Med J 2020;35(2):238-45.
Muhumed I, Kebira J, Mabalhin M. Preterm birth and associated factors among mothers who gave birth in Fafen Zone Public Hospitals, Somali Regional State, Eastern Ethiopia. Research & Reports in Neonatology 2021;11:23-33.
Wongpikul O, Rotchananukunphong S, Kamronrit A. Good quality antenatal care should be given before 12 weeks of GA. [Internet]. [Cited 2022 Jul 17]. Available from: https://hpc9.anamai.moph.go.th/web-upload/migrated/files/hpc9.
The Royal Thai College of Obstetricians and Gynaecologists. RTCOG Clinical Practice Guideline Management of Preterm Labor and Preterm Prelabor Rupture of Membranes. [Internet]. [Cited 2022 May 12]. Available from: http://www.rtcog.or.th/home/wpcon tent/uploads/2022/05/OB -64-027.pdf.
Data Center, Somdejphrajaotaksinmaharaj Hospital. Hospital report in fiscal year 2020. Tak: Somdejphrajaotaksinmaharaj Hospital, 2021:36-48.
Morgan JA, Phillips AL, Wang Y. Effectiveness of vaginal progesterone for short cervix diagnosed between 24 and 28 weeks of gestation. American J of Obs & Gyn 2022;226(Supp):S326.
Rattanakanokchai S, Laopaiboon M, Sangkomkamhang U, Pattanittum P. Risk of progesterone for preventing preterm delivery on gestational diabetes mellitus: a systematic review and meta-analysis. Srinagarind Med J 2016;31(6):355-64.
Berghella V, Saccone G. Cervical assessment by ultrasound for preventing preterm delivery (Review). Internet]. [Cited 2022 May 31]. Available from: https://www.cochranelibrary.com/cdsr/doi/10.1002/14651858.CD007235.pub4/epdf/abstract.
Smith R. Parturition. N Engl J Med 2007;356:271-83.
Saccone G, Khalifeh A, Elimian A, Bahrami E, Chaman-Ara K, Bahrami M, Berghella V. Vaginal progesterone compared to intramuscular 17-alpha hydroxy progesterone caproate for prevention of recurrent spontaneous preterm birth in singleton gestations: a systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Ultrasound Obs Gyn 2017;49(3):315-321.
Tantawy WH, Ghaleb MM, Elsayed MMA. Vaginal versus intramuscular progesterone for prevention of preterm labour in women with a twin pregnancy: a randomized controlled trial. QJM: An Inter J of Med 2020;113(Supp1):293-9.
Artkamon S. Effects of vaginal micronized progesterone for prevention of preterm birth in pregnant women at Nongbuadaeng District, Chaiyaphum Province. Regional Health Promotion Center 9 2022;16(2):612-22.