ปัจจัยเสี่ยงของความผิดปกติที่ยังหลงเหลืออยู่บนภาพถ่ายรังสีทรวงอกในผู้ป่วยหลังการติดเชื้อโควิด 19

Main Article Content

Pattanapol Aramareerak
สุภวัฒน์ ปวราจารย์

บทคัดย่อ

บทนำ ผู้ที่หายจากปอดอักเสบโควิด 19 สามารถพบภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์ทรวงอกผิดปกติ และสามารถกลายเป็นโรคปอดอินเตอร์สติเชียลได้ วิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของความผิดปกติที่ยังหลงเหลืออยู่บนภาพถ่ายรังสีทรวงอกในผู้ป่วยหลังการติดเชื้อโควิด 19เมื่อครบ 12 สัปดาห์ วิธีการศึกษา รวบรวมผู้ป่วยปอดอักเสบโควิด 19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2564 ถึง มิ.ย. 2565 โดยที่ 12 สัปดาห์หลังจากจำหน่ายจะประเมินภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์ทรวงอกโดยใช้ระบบคะแนนเพื่อประเมินระดับความผิดปกติ ผลการวิจัย ผู้ป่วย 120 ราย มีผู้ที่ยังหลงเหลือความผิดปกติบนภาพถ่ายรังสีทรวงอก76 ราย (ร้อยละ 63) โดยกลุ่มที่มีความผิดปกติที่ยังหลงเหลือบนภาพถ่ายรังสีทรวงอกจะมีอายุเฉลี่ย ระยะเวลานอนโรงพยาบาล โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ได้การบำบัดด้วยออกซิเจน และการรักษาด้วย HFNC หรือ NIV สูงกว่ากลุ่มที่ภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์ทรวงอกหายเป็นปกติ และพบว่าระดับซีรัม LDH CRP และค่าสูงสุดของ CRP เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่มีความผิดปกติยังหลงเหลือบนภาพถ่ายรังสีทรวงอก การวิเคราะห์หลายตัวแปรพบว่า ระยะเวลานอนโรงพยาบาล > 14 วัน โรคความดันโลหิตสูง การรักษาด้วยออกซิเจน (HFNC, NIV, หรือ ETT) และระดับซีรัม LDH > 250 U/L เป็นปัจจัยที่สำคัญ สรุประยะเวลานอนโรงพยาบาล > 14 วัน โรคความดันโลหิตสูง การรักษาด้วยออกซิเจน และระดับซีรัม LDH > 250 U/L เป็นปัจจัยเสี่ยงของความผิดปกติที่ยังหลงเหลืออยู่บนภาพถ่ายรังสีทรวงอกในผู้ป่วยหลังการติดเชื้อโควิด 19 ที่ 12 สัปดาห์

Article Details

How to Cite
Aramareerak, P., & ปวราจารย์ ส. (2024). ปัจจัยเสี่ยงของความผิดปกติที่ยังหลงเหลืออยู่บนภาพถ่ายรังสีทรวงอกในผู้ป่วยหลังการติดเชื้อโควิด 19. เวชสารแพทย์ทหารบก, 77(1), 3. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/rtamedj/article/view/263567
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)

References

Alarcon-Rodriguez J, Fernandez-Velilla M, Urena-Vacas A, Martin-Pinacho JJ, Rigual-Bobillo JA, Jaureguizar-Oriol A, et al. Radiological management and follow-up of post-COVID-19 patients. Radiologia (Engl Ed). 2021;63(3):258-69.

Ambardar SR, Hightower SL, Huprikar NA, Chung KK, Singhal A, Collen JF. Post-COVID-19 Pulmonary Fibrosis: Novel Sequelae of the Current Pandemic. J Clin Med. 2021;10(11).

Tabatabaei SMH, Rajebi H, Moghaddas F, Ghasemiadl M, Talari H. Chest CT in COVID-19 pneumonia: what are the findings in mid-term follow-up? Emerg Radiol. 2020;27(6):711-9.

Zhao YM, Shang YM, Song WB, Li QQ, Xie H, Xu QF, et al. Follow-up study of the pulmonary function and related physiological characteristics of COVID-19 survivors three months after recovery. EClinicalMedicine. 2020;25:100463.

Warren MA, Zhao Z, Koyama T, Bastarache JA, Shaver CM, Semler MW, et al. Severity scoring of lung oedema on the chest radiograph is associated with clinical outcomes in ARDS. Thorax. 2018;73(9):840-6.

Marques P, Fernandez-Presa L, Carretero A, Gomez-Cabrera MC, Vina J, Signes-Costa J, et al. The radiographic assessment of lung edema score of lung edema severity correlates with inflammatory parameters in patients with coronavirus disease 2019-Potential new admission biomarkers to predict coronavirus disease 2019 worsening. Front Med (Lausanne). 2022;9:871714.

Wong HYF, Lam HYS, Fong AH, Leung ST, Chin TW, Lo CSY, et al. Frequency and Distribution of Chest Radiographic Findings in Patients Positive for COVID-19. Radiology. 2020;296(2):E72-E8.

Wallis TJM, Heiden E, Horno J, Welham B, Burke H, Freeman A, et al. Risk factors for persistent abnormality on chest radiographs at 12-weeks post hospitalisation with PCR confirmed COVID-19. Respir Res. 2021;22(1):157.

Mittl RL, Jr., Schwab RJ, Duchin JS, Goin JE, Albeida SM, Miller WT. Radiographic resolution of community-acquired pneumonia. Am J Respir Crit Care Med. 1994;149(3 Pt 1):630-5.

Li F, Deng J, Song Y, Wu C, Yu B, Wang G, et al. Pulmonary fibrosis in patients with COVID-19: A retrospective study. Front Cell Infect Microbiol. 2022;12:1013526.

Mandal S, Barnett J, Brill SE, Brown JS, Denneny EK, Hare SS, et al. 'Long-COVID': a cross-sectional study of persisting symptoms, biomarker and imaging abnormalities following hospitalisation for COVID-19. Thorax. 2021;76(4):396-8.

Peng M, He J, Xue Y, Yang X, Liu S, Gong Z. Role of Hypertension on the Severity of COVID-19: A Review. J Cardiovasc Pharmacol. 2021;78(5):e648-e55.