เปรียบเทียบผลลัพธ์รูปแบบการลงแผลผ่าตัดเจาะคอช่วยหายใจแบบแนวตั้งและแนวนอนด้วยการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

Main Article Content

Pana Klamkam
อพิสิษฐ์ จิรวารศิริกุล
สุธี รัตนาธรรมวัฒน์
จักรกฤษฎิ Jakkrit

บทคัดย่อ

ความสำคัญและที่มางานวิจัย


            การผ่าตัดเจาะคอช่วยหายใจใช้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน มีปัญหาทางเดินหายใจอุดกลั้นและขับสิ่งคัดหลั่งไม่ได้ โดยปัจจุบันโสต ศอ นาสิกแพทย์นิยมลงแผลผ่าตัด 2 แบบคือแนวตั้ง(Vertical incision) และ แนวนอน (Horizontal incision) เนื่องจากการศึกษาและเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการลงแผลผ่าตัดเจาะคอช่วยหายใจในประเทศไทยนั้นยังให้ผลที่ไม่ชัดเจน คณะผู้วิจัยจึงทำวิจัยเพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกรูปแบบการลงแผลผ่าตัดเจาะคอที่เหมาะสมกับผู้ป่วย


วัตถุประสงค์


เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการลงแผลผ่าตัดเจาะคอช่วยหายใจแบบแนวตั้งและแนวนอนและเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการเจาะคอ


รูปแบบงานวิจัย


การทดลองแบบสุ่มและมีการควบคุม (Randomized controlled trial)


วิธีดำเนินงานวิจัย


งานวิจัยนี้แบ่งอาสาสมัครจำนวน 51คน เป็น 2กลุ่ม ด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มแรกลงแผลผ่าตัดแบบแนวตั้งและกลุ่มที่ 2 ลงแผลผ่าตัดแนวนอนแล้วเก็บข้อมูลทั่วไป ข้อมูลระหว่างการผ่าตัดและติดตามอาการที่ 7 วัน กับ 3-6เดือน


ผลการวิจัย


ผลการติดตามอาการหลังผ่าตัดอาสาสมัครจำนวน 51 ราย ที่เข้ารับการผ่าตัดเจาะคอช่วยหายใจด้วยวิธีลงแผลผ่าตัดแนวตั้ง  26 รายและลงแผลผ่าตัดแนวนอน 25 ราย พบว่าภายใน 7 วันกลุ่มที่ลงแผลผ่าตัดแนวตั้งตรวจพบเลือดออกจากแผลระดับ 2 (2.5-10 ml) 1 ราย (3.8%) และเลือดออกจากแผลระดับ 3 (10-100 ml) 1 ราย (3.8%) ซึ่งไม่พบเลือดออกจากแผลในกลุ่มที่ลงแผลแนวนอน และไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ   (p=0.368). ตรวจพบการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัดในกลุ่มที่ลงแผลผ่าตัดแนวนอน 1 ราย (4%) และไม่พบการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดในกลุ่มที่ลงแผลแนวตั้ง (p=0.303) ทั้ง 2 กลุ่มตรวจพบการหายของบาดแผลผ่าตัดสมบูรณ์ 100% ส่วนผลการติดตามที่ระยะ 3-6 เดือน มีอาสาสมัครที่มาติดตามจำนวน 18 ราย ตรวจพบแผลผ่าตัดติดเชื้อ 1 ราย ในกลุ่มที่ลงแผลผ่าตัดแนวตั้ง (14.3%) (p=0.197) จากการศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการผ่าตัดเจาะคอช่วยหายใจพบว่า การจัดท่าแหงนคอช่วยลดระยะเวลาการผ่าตัดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่าสัมประสิทธิ์ (coefficient) เท่ากับ -0.3026 (p=0.0309) แผลผ่าตัดที่มีขนาดใหญ่จะเพิ่มระยะเวลาการผ่าตัดโดยค่าสัมประสิทธิ์ (coefficient) เท่ากับ 0.3755 (p=0.0066)  นอกจากนี้ยังพบว่าระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลลดลงเมื่อได้รับการผ่าตัดเจาะคอเร็วขึ้นทั้ง 2 กลุ่ม


สรุปผลการวิจัย


จากการศึกษาพบว่าตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ของการผ่าตัดช่วยหายใจทั้ง 2 วิธี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ การจัดท่าแหงนคอซึ่งช่วยลดระยะเวลาการผ่าตัด การลงแผลผ่าตัดใหญ่ขึ้นทำให้ระยะเวลาการผ่าตัดนานขึ้น และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลจะลดลงเมื่อผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเจาะคอเร็วขึ้น

Article Details

How to Cite
Klamkam, . P. ., จิรวารศิริกุล อ., รัตนาธรรมวัฒน์ . ส., & Jakkrit จ. (2025). เปรียบเทียบผลลัพธ์รูปแบบการลงแผลผ่าตัดเจาะคอช่วยหายใจแบบแนวตั้งและแนวนอนด้วยการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม. เวชสารแพทย์ทหารบก, 78(1). สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/rtamedj/article/view/272158
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)

References

De Leyn P, Bedert L, Delcroix M, Depuydt P, Lauwers G, Sokolov Y, et al. Tracheotomy: clinical review and guidelines. Eur J Cardiothorac Surg. 2007;32(3):412-21.

Cheung NH, Napolitano LM. Tracheostomy: epidemiology, indications, timing, technique, and outcomes. Respir Care. 2014;59(6):895-915; discussion 6-9.

Massick DD, Yao S, Powell DM, Griesen D, Hobgood T, Allen JN, et al. Bedside tracheostomy in the intensive care unit: a prospective randomized trial comparing open surgical tracheostomy with endoscopically guided percutaneous dilational tracheotomy. Laryngoscope. 2001;111(3):494-500.

Nates JL, Cooper DJ, Myles PS, Scheinkestel CD, Tuxen DV. Percutaneous tracheostomy in critically ill patients: a prospective, randomized comparison of two techniques. Crit Care Med. 2000;28(11):3734-9.

Sanji RR, Channegowda C, Patil SB. Comparison of Elective Minimally Invasive with Conventional Surgical Tracheostomy in Adults. Indian J Otolaryngol Head Neck Surg. 2017;69(1):11-5.

Lim SY, Kwack WG, Kim Y, Lee YJ, Park JS, Yoon HI, et al. Comparison of outcomes between vertical and transverse skin incisions in percutaneous tracheostomy for critically ill patients: a retrospective cohort study. Crit Care. 2018;22(1):246.

Johnson-Obaseki S, Veljkovic A, Javidnia H. Complication rates of open surgical versus percutaneous tracheostomy in critically ill patients. Laryngoscope. 2016;126(11):2459-67.

Bradley PJ. Bleeding around a tracheostomy wound: what to consider and what to do? J Laryngol Otol. 2009;123(9):952-6.

Hemmati H, Forozeshfard M, Hosseinzadeh B, Hemmati S, Mirmohammadkhani M, Bandari R. Tracheostomy in Patients Who Need Mechanical Ventilation: Early or Late? Surgical or Percutaneous? A Prospective Study in Iran. Indian J Surg. 2017;79(5):406-11.

Engels PT, Bagshaw SM, Meier M, Brindley PG. Tracheostomy: from insertion to decannulation. Can J Surg. 2009;52(5):427-33.