ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้กับพฤติกรรมการป้องกัน วัณโรคปอดของประชาชน ตำบลสวนกล้วย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

นงนุช เสือพูม

Abstract

วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ กับพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดกลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนตำบลสวนกล้วย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)จำนวน 399 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอด วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล โดยหา ความถี่ ค่า เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ใช้ค่าสถิติ Mann-Whitney test, Spearman Rank Correlation Coefficient และ Kruskal-wallis Test ผลการศึกษาพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ มีความรู้ในการป้องกันวัณโรคปอด อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 83.7) และมีพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 69.2) ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดของประชาชนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดของประชาชนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมและจัดบริการการให้ความรู้ประชาชนที่ยังไม่ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยงเกี่ยวกับการป้องกันวัณโรคเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับบริบทของชุมชน

 

The Relationship between Personal Factors, Knowledge and Lung Tuberculosis Preventive Behaviors of People in Suankleau Sub District, Banpong District, Ratchaburi Province, Thailand

Nongnuch Suapumee*

Abstract

The purpose of this descriptive study was to explore the relationship between personal factors, knowledge in lung tuberculosis (TB) preventions, and TB preventive behaviors. The sample was 399 people living in Suankleau sub district selected by simple random sampling.
The instruments used were questionnaires asking about personal factors, knowledge and TB preventive behaviors. Personal data were analyzed using frequency, percentage, mean, and standard deviation. Correlations were analyzed using Mann-Whitney test, Spearman Rank Correlation Coefficient, and Kruskal-Wallis test.

The main results from this study revealed that 83.7% of sample had knowledge related to TB preventive behaviors at a high level and 69.2 % had TB preventive behaviors at a very high level. Personal factors including gender, age, education, marital status, and occupation were positively associated with TB preventive behaviors (p<.05). Knowledge related to TB preventive behaviors was positively associated with TB preventive behaviors (p < 0.05). Based on the results of this study, health education related to TB preventing behaviors for both healthy and risk people is needed.

* Nurse Instructor, Boromarajonani College of Nursing, Chakriraj

Article Details

How to Cite
1.
เสือพูม น. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้กับพฤติกรรมการป้องกัน วัณโรคปอดของประชาชน ตำบลสวนกล้วย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Sep. 17 [cited 2024 Dec. 23];23(2):79-93. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/11899
Section
บทความวิจัย