แนวทางการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Main Article Content

อลิสา ศิริเวชสุนทร

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา ปัญหา ความต้องการของประชาชนและเจ้าหน้าที่ในการสร้างเสริมสุขภาพระดับตำบล และเพื่อนำเสนอแนวทางการทำงานสร้างเสริมสุขภาพสำหรับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดำเนินการวิจัยด้วย 1) การสังเคราะห์แนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศ 6 กรณีศึกษา 2) การศึกษาปัญหาและความต้องการของประชาชนและเจ้าหน้าที่ในการสร้างเสริมสุขภาพ 3) สร้างแนวทางการทำงานสร้างเสริมสุขภาพสำหรับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และทำการตรวจสอบกับผู้ร่วมการวิจัย 67 คน ที่ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจงจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเครือข่ายบริการสุขภาพ 4 ภูมิภาค รวม 5 พื้นที่ แบ่งเป็นประชาชน  จำนวน 42 คน  และเจ้าหน้าที่ จำนวน 25 คน  เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่ แนวสัมภาษณ์สำหรับประชาชนและสำหรับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับปัญหาและความต้องการในการสร้างเสริมสุขภาพและแบบสอบถามประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการทำงานสร้างเสริมสุขภาพสำหรับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

ผลการวิจัย สรุปได้ว่า 1) ปัญหา ความต้องการของประชาชนและเจ้าหน้าที่ในการสร้างเสริมสุขภาพระดับตำบล ได้แก่ 1.1) ประชาชน แบ่งเป็นปัญหา 3 ประการ คือ ปัญหาด้านการมีส่วนร่วม ปัญหาด้านทัศนคติ และปัญหาต่อการจัดกิจกรรมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และความต้องการของประชาชน 2 ประการ คือ ความต้องการมีส่วนร่วม และความต้องการให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นที่พึ่งทางสุขภาพ 1.2) เจ้าหน้าที่ แบ่งเป็นปัญหา 2 ประการ คือ ปัญหานโยบายไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติและความคาดหวัง และปัญหาการขาดทักษะประสานงานกับประชาชนและหน่วยงานอื่น และความต้องการของเจ้าหน้าที่ 2 ประการ คือ ความต้องการพัฒนาระบบการทำงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และความต้องการให้ประชาชนมีความสนใจต่อการสร้างเสริมสุขภาพที่เพียงพอ 2) แนวทางการทำงานสร้างเสริมสุขภาพสำหรับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบด้วยแนวทาง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 การพัฒนาเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยมีการคัดเลือก การอบรม การปรับเปลี่ยนมโนทัศน์เจ้าหน้าที่จากผู้รอบรู้และผู้รักษาเป็นผู้เอื้ออำนวยการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกในชุมชน และการสนับสนุนการทำงานให้เกิดการบริการด้วยหัวใจมนุษย์ ด้านที่ 2 การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างเสริมสุขภาพ ด้วยการรณรงค์ให้ผู้รับบริการและชุมชนมีส่วนและด้านที่ 3 การพัฒนาวิธีการทำงานและการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพเน้นการบริหารจัดการและพัฒนากิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสมเฉพาะกับชุมชน แนวทางทั้ง 3 ประการนี้ ประชาชนและเจ้าหน้าที่ประเมินว่า มีความเหมาะสมมาก (ระดับคะแนนเฉลี่ย \inline \bar{x} 3.51, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.97)  และความเป็นไปได้มาก (ระดับคะแนนเฉลี่ย \inline \bar{x} 4.17 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.70)

 

 

Health Promotion Practical Guidelines for Health Care Personnel in Health Centers

Alisa Sirivetsunthorn*

Abstract

The purposes of this study were to identify health promotion needs and problems of local people and health care rofessionals, and to propose practical guidelines for health care personnel in health centers. The research methods included (1) analyzing and synthesizing six best practices of health promotion in Thailand and other countries, (2) identifying problems and needs of local people and health care personnel, and (3) developing practical guidelines of health promotion. A purposive sampling technique was used to recruit 67 participants from 5 health centers of 4 regions of Thailand’s health network. They were composed of 42 local people and 25 health care personnel. Structured interview guideline was used to collect information on problems and needs of local people and health care personnel. A five rating-scale questionnaire was used to validate the health promotion practical guidelines. Quantitative data were analyzed by frequency, percentage, mean, and standard deviation. Content analysis was performed to analyze qualitative data.

The findings revealed that

(1) local people and health care personnel indicated three major problems including
(1.1) people’s participation, negative attitude, and lack of attention on health promotion activities. Their needs were to increase people’s participation and needs for health centers to be more dependable for local people. (1.2) Health care personnel expressed 2 problems, namely the contradiction among the policy, actual practice, and expectation and the lack of coordination skills. Other needs included improving the working system of the health centers and increasing people’s attention and participation in their health;
(2) practical guidelines for health care personnel in health centers consisted of 3 strategies including
(2.1) development of health care personnel by various means such as efficient selection of personnel, training and changing their attitudes and practice from health providers to facilitators for health promotion, and increasing humanized health care attitude;
(2.2) development of people’s participation in health promotion such as encouragement and empowerment of local people;
(2.3) Development of health promotion working techniques and health promotion activities focusing on the development of effective management, activities suitable for the communities.

These practical guidelines were validated by local people and health care personnel at the high levels of appropriateness (\inline \bar{x} =3.51, S.D. 0.97) and possibility (\inline \bar{x}  =4.17, S.D. 0.70).

* Human Resource officer, Senior Professional level, PRABOROMARAJCHANOK INSTITUTE FOR HEALTH WORKFORCE DEVELOPMENT

 

Article Details

How to Cite
1.
ศิริเวชสุนทร อ. แนวทางการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Sep. 17 [cited 2024 Nov. 23];23(2):94-102. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/11901
Section
บทความวิจัย