ผลของการใช้รูปแบบการสอบ OSCE เพื่อประเมินความรู้และทักษะทางคลินิกด้านการรักษาโรคเบื้องต้นและการรับรู้ของอาจารย์พี่เลี้ยงต่อทักษะทางคลินิกของนักศึกษา

Main Article Content

นันทรียา โลหะไพบูลย์กุล
บุญชัย ภาละกาล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสอบ OSCE เพื่อประเมินความรู้และทักษะ ทางคลินิกด้านการรักษาโรคเบื้องต้น 7 ด้าน และการรับรู้ของอาจารย์พี่เลี้ยงต่อทักษะทางคลินิกของนักศึกษา พยาบาล ปีการศึกษา 2554 กลุ่มตัวอย่างเป็น นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 80 คน สุ่มโดยวิธีการสุ่ม อย่างง่าย และ อาจารย์ 12 คน อาจารย์พี่เลี้ยง 15 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย ชุดโจทย์สถานการณ์ แบบสอบถามการรับรู้ทักษะทางคลินิกและปัญหาในการสอบ OSCE ตรวจสอบคุณภาพ เครื่องมือโดยแพทย์และพยาบาล จำนวน 15 คนได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหา 0.75 และค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถาม 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

การวิจัยได้นำชุดโจทย์ สถานการณ์ 5 กลุ่มโรค มาทดสอบกับนักศึกษาในรูปแบบการสอบ OSCE พบว่า ประเมินทักษะและจำแนกความสามารถในการปฏิบัติของนักศึกษาได้ ประเมินผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้จึงสามารถ นำทักษะที่บกพร่องมาพัฒนาให้ดีขึ้น อาจารย์พี่เลี้ยงและนักศึกษามีการรับรู้ที่สอดคล้องกันว่า ทักษะที่นักศึกษา ปฏิบัติได้ในระดับดี คือทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย การให้คำแนะนำผู้ป่วยและการวินิจฉัยแยกโรค ส่วนทักษะการตรวจร่างกาย เป็นทักษะที่นักศึกษาต้องแก้ไข ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้เห็นแนวทางการพัฒนา ทักษะทางคลินิกด้านการรักษาโรคเบื้องต้นให้กับนักศึกษาต่อไป การที่นักศึกษาได้ฝึกทักษะจากการสอบ OSCE ซึ่งมีโจทย์สถานการณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานจำลองให้มีสภาพเหมือนจริง เมื่อนักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ตรง กับผู้ป่วยจริงจึงสามารถนำความรู้มาสู่การปฏิบัติได้ดีขึ้น อาจสรุปได้ว่ารูปแบบการสอบ OSCE เหมาะสมในการใช้ ประเมินวิชาการปฏิบัติทางการพยาบาล สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทดสอบเพื่อประเมินความรู้ของนักศึกษา สำหรับเตรียมความพร้อมก่อนฝึกภาคปฏิบัติได้

 

 

The Effects of an Objective Structured Clinical Examinations (OSCEs) Test to Evaluate The Knowledge and Clinical Skills in Basic Medical Treatment and Perceive of Preceptors from Community of The Clinical Skills of Nursing Students

Mrs.Nuntareeya Lohapaiboonkul*

Mr.Boonchai Palakarn*

Abstract

The purpose of this study was to examine the effects of an Objective Structured Clinical Examinations (OSCEs) test to evaluate the knowledge and clinical skills in seven domains of basic medical treatment and perceptions of preceptors on the clinical skills of nursing students in Academic Year B.E. 2554. A random sampling technique was used to recruit 80 of the 4th year nursing students whilst a purposive sampling technique was used to select 12 nurse instructors and 15 preceptors from community hospitals to participate in this study. The instruments were composed of 5 sets of clinical scenarios and questions which were OSCEs and a questionnaire asking about perceptions on clinical skills and problem regarding taking OSCEs. The content validity was approved by 15 experts of doctors and nurse practitioners with an IOC of 0.75. Reliability was 0.86. Data were analyzed using descriptive statistics.

Five sets of OSCEs were implemented to test nursing students. The study found that OSCEs could evaluate and differentiate clinical skills and performance of the nursing students. They could also assess individual skills which can help the faculty to improve the students individually. Preceptors and nursing students consistently perceived that the skills that students well performed were building relationships with patients, advising patients and diagnosing disease. Physical examination was a skill that should be improved. The results of this study provide information to the development of clinical skills in basic medical treatment. Using OSCE test as allows nursing students to learn to practice in simulations and these experiences can be referred to the real situations when working. OSCE test is applicable for practical nursing course and could be applied in the assessment of students’ knowledge for preparing clinical skills.

* Registered Nurse, Department of Community Health Nursing, Boromarajonnani College of Nursing, Sanpasithiprasong, UbonRatchathani,Thailand.

Article Details

How to Cite
1.
โลหะไพบูลย์กุล น, ภาละกาล บ. ผลของการใช้รูปแบบการสอบ OSCE เพื่อประเมินความรู้และทักษะทางคลินิกด้านการรักษาโรคเบื้องต้นและการรับรู้ของอาจารย์พี่เลี้ยงต่อทักษะทางคลินิกของนักศึกษา. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2014 Feb. 25 [cited 2024 Nov. 22];23(3):24-3. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/16531
Section
บทความวิจัย