การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในเขตเทศบาลนครสงขลา

Main Article Content

ปฐมพร โพธิ์ถาวร
อำไพอร เพ็ญสุวรรณ
นิตยา ศรีญาณลักษณ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาของมารดาวัยรุ่นในเขตเทศบาล นครสงขลา จำนวน 24 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสัมภาษณ์ เจาะลึกการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการคำนวณความถี่และร้อยละ ข้อมูลเชิง คุณภาพวิเคราะห์โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่ามารดาวัยรุ่นมีความคิดเห็น ทางบวกต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาร้อยละ 95.83 เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้นานเป็นเวลาแตกต่างกัน ตั้งแต่ 1 สัปดาห์-10 เดือน โดยมีพฤติกรรมการเลี้ยงบุตร 3 ลักษณะคือ 1) เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว ร้อยละ 29.16 2) เลี้ยงด้วยนมมารดาร่วมกับนมผสมร้อยละ 54.17 และ 3) เลี้ยงด้วยนมผสมอย่างเดียวร้อยละ 16.67 ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดามีเฉพาะในกลุ่มที่เลี้ยงด้วยนมมารดาร่วมกับนมผสม (ร้อยละ 37.5) และกลุ่มเลี้ยงบุตรด้วยนมผสมอย่างเดียว (ร้อยละ 16.67) โดยกลุ่มเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาร่วมกับ นมผสมจะพบปัญหาและอุปสรรคคือมารดาต้องทำงานนอกบ้าน สภาพหัวนมไม่เหมาะสม น้ำนมไหลน้อยและมี อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าจากภาระเลี้ยงดูบุตรคนโต ส่วนกลุ่มเลี้ยงบุตรด้วยนมผสมอย่างเดียวพบปัญหาและ อุปสรรคเรื่องมารดามีความรู้ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเพียงพอเกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา สภาพหัวนม ไม่เหมาะสม และบุตรมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย เฉพาะกลุ่มเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาร่วมกับนมผสมเท่านั้นที่มี ความต้องการความช่วยเหลือด้านคำแนะนำและการดูแลเกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาขณะอยู่บ้านจาก บุคลากรทีมสุขภาพ

จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าควรให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาแก่หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น เป็นระยะๆ ในแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์ และในระยะ 6 เดือนแรกหลังคลอดควรมีการติดตามการเลี้ยงบุตร ด้วยมารดาเป็นระยะเพื่อให้การช่วยเหลือกรณีมีอุปสรรคปัญหา

 

 

Breastfeeding among Teenage Mothers in Muang Songkhla Municipality

Patomporn Photaworn*

Aumpaiorn Pensuwan*

Nittaya Sriyannalak*

Abstract

This descriptive study was conducted to explore the breastfeeding of 24 teenage mothers in Muang Songkhla municipality. The research instrument was divided into two parts; 1) general information questionnaire, and 2) open-ended interview questions about breastfeeding. Quantitative data were analyzed by using frequencies and percentages. Content analysis was performed to analyze qualitative data. The results showed that teenage mothers had positive attitudes toward breastfeeding (95.83%). The duration of breastfeeding varied from one week to ten months. Breast feeding behaviors were divided into 3 categories 1) breastfeeding alone (29.16%), 2) a combination of formula feeding and breastfeeding (54.17%) and 3) formula alone (16.67%). Problems and difficulties found among teenage mothers in the combination group were working outside their homes, nipple problems and low lactation, and fatigue from raising an older child. Problems and difficulties found among teenage mothers in the formula feeding group included having flat nipples, low birth weight babies, and lack of knowledge and understanding about breastfeeding. Only the group of teenage mothers who used combination of formula feeding and breastfeeding needed advice and support from health personnel at home.

The findings from this study suggest that knowledge about breastfeeding should be provided to pregnant teenage women in every trimester of the pregnancy. A follow-up of breastfeeding should be done within the first 6 months after delivery and monitored periodically to help the teenage mothers.

* Nurse instructor, Boromrajonani College of Nursing, Songkhla

Article Details

How to Cite
1.
โพธิ์ถาวร ป, เพ็ญสุวรรณ อ, ศรีญาณลักษณ์ น. การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในเขตเทศบาลนครสงขลา. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2014 Feb. 25 [cited 2024 Nov. 15];23(3):45-52. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/16535
Section
บทความวิจัย