ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมร่วมกับการออกกำลังกายด้วย ยางยืดต่อความรู้และความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้สูงอายุ หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

Main Article Content

มนทกานต์ ยอดราช
ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทำหน้าที่ของ ร่างกายของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเตรียมความพร้อมที่ประกอบด้วย การให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมร่วมกับการออกกำลังกายด้วยยางยืด กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่ม ตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุเพศหญิงผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม แผนกออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน โดยจัดให้ทั้ง 2 กลุ่มมีความคล้ายคลึงกันในด้าน อายุ ชนิดของการผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมตามแนวคิดทฤษฎี การกำกับตนเองของ Leventhal and Johnson ร่วมกับการออกกำลังกายด้วยยางยืดตามแนวคิดของ เจริญ กระบวนรัตน์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินการเดินทางราบในเวลา 6 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ สถิติการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า

1. คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้สูงอายุหลังเปลี่ยนข้อเข่าเทียมภายหลัง ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมร่วมกับการออกกำลังกายด้วยยางยืดสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 19.803, p = .0001)

2. คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้สูงอายุหลังเปลี่ยนข้อเข่าเทียมภายหลัง ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมร่วมกับการออกกำลังกายด้วยยางยืดสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการ พยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 (t = 5.764, p = .0001)

 

The Effects of a Preparation Program Combined with a Rubber Chain Exercise Program on the Functional Capacity of Elderly Post Total Knee Arthroplasty

Montakan Yodrach*

Tassana Choowattanapakorn**

Abstract

The purpose of this quasi-experimental research was to test the effects of a preparation program that includes information combined with a rubber chain exercise on functional capacity of elderly females post total knee arthroplasty. The sample consisted of 40 elderly patients, post operation of total knee arthroplasty, admitted to the orthopeadic ward of Rajavithi Hospital. They were equally assigned into an experimental group and a control group by matching age and type of operation. The intervention was a preparation program based on the Leventhal and Johnson theory of self-regulation, and a rubber chain exercise based on the concept of Chareon Krabuanrat, using the six-minute walk test (6-MWT). The data were analyzed by using mean, standard deviation, percentage, and t-tests.

The results were as follows:

1. The mean score of functional capacity of elderly patients post total knee arthroplasty, receiving the preparation program, was significantly higher than the pre-test score (t = 19.803, p = 0.0001).

2. The mean score of functional capacity of elderly patients, post total knee arthroplasty,receiving the preparation program was significantly higher than those who did not receive treatment (t = 5.764, p = 0.0001).

 

* Registered nurse, orthopaedic clinic, Rajavithi Hospital. Master of Nursing Science, Major Field: Gerontology, Faculty of Nursing Chulalongkorn University

** Thesis Advisor: Assistant Professor, Ph.D, Gerontology, Faculty of Nursing Chulalongkorn University

Article Details

How to Cite
1.
ยอดราช ม, ชูวรรธนะปกรณ์ ท. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมร่วมกับการออกกำลังกายด้วย ยางยืดต่อความรู้และความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้สูงอายุ หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2014 Feb. 25 [cited 2024 Nov. 15];23(3):63-75. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/16628
Section
บทความวิจัย