การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถ ของตนเองกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และภาวะสุขภาพ ของนักศึกษาพยาบาล
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ และภาวะสุขภาพของ นักศึกษาพยาบาล และความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรค ของพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การรับรู้ความสามารถของตนเอง กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษา พยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา กลุ่มตัวอย่างใช้เป็นประชากรทั้งหมด คือ นัก ศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 44 ปีการศึกษา 2553 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วน ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.709 และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ซึ่งใช้ในการประเมินภาวะสุขภาพ มีการตรวจสอบคุณภาพของอุปกรณ์และ ความถูกต้องของการวัดก่อนใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าที และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า
1. การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอยู่ในระดับมากที่สุด การรับรู้ความสามารถของ ตนเอง พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและภาวะสุขภาพของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก ทั้งก่อนและหลังเรียน โดย ค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ส่วนการรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพทั้งก่อนและ หลังเรียนอยู่ในระดับน้อย โดยค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนสูงกว่าหลังเรียน และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อน และหลังเรียนทุกด้าน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.01)
2. การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05)
Perceived Benefits, Perceived Barriers, Perceived Self-Efficacy and Health Promoting Behaviors, and Health Status of Nursing Students
Jaroonrat Rodniam*
Sakuntala Saetiaw**
Worawan Jantaweemuang **
Abstract
This descriptive research aimed to investigate 1) perceived benefits of action, perceived barriers of action, perceived self-efficacy, health promoting behaviors, and health status, and 2) the relationship between perceived benefits of action, perceived barriers of action, perceived self-efficacy and the health promoting behaviors. The sample included all 152 nursing students in the 2nd year, academic year 2010, Boromarajonani College of Nursing, Songkhla (BCNSK). Research instruments used in this study were 1) self-reported questionnaire consisted of five parts, and 2) physical measurement tool for indicating health status. Quality of the research instruments was examined. Data were analyzed using computer software packages. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient analysis. Major findings were as follow:
1. Both before and after taking the course, the perceived benefits of action was at the highest level, the perceived self-efficacy, the health promoting behaviors, and the health status were at a high level. The mean scores after taking the course were higher than before taking the course. The perceived barriers of action before and after taking the course were at a low level. The mean scores before taking the course were higher than after taking the course. The difference in mean scores between before and after taking the course was statistically significant (p < .01).
2. Perceived benefits of action, perceived barriers of action, perceived self-efficacy and health promoting behaviors were correlated at a statistically significant level (p < .05).
* Registered Nurse (Senior Professionl Level)
** Nurse Instructor, Boromarajonani College of Nursing, Songkhla
Article Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้