ประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในตำบลลาดบัวขาว
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อศึกษาประสบการณ์การดูแลตนเองของ ผู้ป่วยเบาหวาน ในตำบลลาดบัวขาว อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เกี่ยวกับการรับรู้เมื่อเป็นเบาหวานครั้งแรก พฤติกรรม การดูแลตนเอง และความต้องการของผู้ป่วยเบาหวานต่อบทบาทของบุคลากรสาธารณสุข ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ที่ได้รับ การวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวานไม่น้อยกว่า 1 ปีและรับการรักษาอย่างต่อเนื่องในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลบ้านโป่ง สามารถให้ข้อมูลและยินดีให้ข้อมูล จำนวน 14 ราย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ชนิด กึ่งโครงสร้างโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล (In-depth interview) ร่วมกับการบันทึกเทป และสมุด คู่มือประจำตัวผู้ป่วยเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่าเมื่อถูกวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานครั้งแรก ผู้ป่วยมีความรู้สึก กลัว ตกใจ และวิตกกังวล, ผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้มีแบบแผนการกินแตกต่างกับผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้, การกินยาตาม แพทย์สั่งอย่างเดียวจะควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ แต่การกินยาตามแพทย์สั่งร่วมกับการปรับการกินจะสามารถ ควบคุมน้ำตาลได้, สิ่งที่สำคัญในการดูแลตนเอง คือ อาหาร อารมณ์ การกินยาอย่างสม่ำเสมอและการพบแพทย์ อย่างต่อเนื่อง, มีการใช้สมุนไพรหลายชนิดเป็นทางเลือกในการรักษาเบาหวาน หลังจากพบว่าระดับน้ำตาล ไม่ลดลง จึงเลิกใช้, การเป็นเบาหวานส่งผลกระทบทั้งต่อชีวิตการทำมาหากินและการใช้ชีวิตประจำวัน, มีความ ต้องการบริการด้านสุขภาพทั้งจากอาสาสมัครสาธารณสุขและจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการเยี่ยมบ้าน ส่วน การบริการในโรงพยาบาลผู้ป่วยส่วนใหญ่บอกว่าแพทย์มีเวลาน้อย ไม่ถามปัญหาหรือความต้องการของผู้ป่วย
ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ ควรมีการเตรียมผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานในครั้งแรกโดยมี การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและวิธีการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย และการควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดที่ได้ผล นอกจากการกินยารักษาเบาหวานตามแพทย์สั่งแล้ว ผู้ป่วยต้องมีการควบคุมแบบแผน การกินและการควบคุมอารมณ์ควบคู่ไปด้วย
Self Care Experience of Diabetic Patients in Tambol Lad Bua Khao,Ban Pong District, Ratchaburi Province.
Kuleudee Chittayanunt*
Abstract
This qualitative study aimed to investigate self- care experience of diabetic patients regarding their perception with the first diagnosis of diabetes mellitus, self-care behaviors, and patients’ expectation towards roles of healthcare providers. Purposive sampling was used to recruit 14 diabetes patients who have been diagnosed with diabetes mellitus for more than 1 year, regularly visit diabetes clinic in Ban Pong Hospital, and agree to provide information. Instruments used were a semi-structured interview questionnaire and the patients’ record. Data were collected through individually given in-depth interview with the tape recorder. Data were analyzed using content analysis.
The results showed that when first being diagnosed with diabetes. Patients would panic feel fear and be anxious. The eating patterns of Patients who were able to control blood sugar level were different from those who weren’t be able to control their blood sugar, and the medication prescribed by doctors could not control blood sugar levels alone. The medication prescribed by doctors with the appropriate eating pattern would help to control their blood sugar. The important things needed to be considered for self-care of diabetes patients were having appropriate food, controlling emotion, taking medicine and visiting the doctor regularly. The patients used many kinds of herbs as the alternative treatment of diabetes, and they gave up after their blood sugar level did not decrease. Diabetes affected the lives of patients, including both their livelihood and diary life. The patients required health services from health volunteers and health care providers, especially the home visit. The patients also reported that the doctors in the hospital didn’t have time to ask the patients about their problems or needs.
The study suggested that the diabetes patients need to be prepared at the first diagnosis by providing knowledge about diabetes, including how to control their blood sugar. The patients also need to know that not only taking medicine as prescribed is important, but they also need to control their food and emotion.
* Nurse Instructor, Boromarajonni College of Nursing, Chakriraj
Article Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้