การรับรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
Main Article Content
Abstract
โรคหลอดเลือดสมองมีอัตราป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จังหวัดสระบุรีมีอัตราป่วยเป็นอันดับ 7 ของ ประเทศ การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนของโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันแก่ประชาชน จะช่วย ลดความรุนแรงของโรคและช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้สำรวจการรับรู้สัญญาณเตือนโรคหลอด เลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงอายุมากกว่า 35 ปี จำนวน 375 คน ที่เข้ารับ การรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลในจังหวัดสระบุรี โดยใช้วิธีการ สุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม พบว่ากลุ่มตัวอย่างอายุ 36 – 88 ปี อายุเฉลี่ย 59 (SD = 10.27) เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ร้อยละ 46 เพศหญิง ร้อยละ 70.9 การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 70.6 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 67.4 โรคเรื้อรังที่พบมาก คือ ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 89 โรคอ้วน ร้อยละ 52.4 และ ไขมันสูง ร้อยละ 49.2 เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ระดับเสี่ยงสูงมาก ร้อยละ 3.2 ระดับเสี่ยง สู งปานกลาง ร้ อยละ 53.5 และ ระดั บเสี่ ยงสู งร้ อยละ 43.3 แหล่ งข้ อมู ลข่าวสารโรคหลอดเลื อดสมอง 3 อั นดั บแรก คือ โทรทัศน์ ร้อยละ 46.3 เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ 34.2 และพยาบาล ร้อยละ 24.6 โดยภาพรวมพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 39.8 เคยมีประสบการณ์รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสัญญาณเตือน ของโรคหลอดเลือดสมองและการจัดการเบื้องต้น โดยข้อมูลสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับน้อยที่สุด คืออาการอ่อนแรงของร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง ร้อยละ 58.6 รองลงมาคืออาการปากเบี้ยว ร้อยละ 70.6 และอาการ พูดไม่ชัด ร้อยละ 73.3 การศึกษาพบว่ากลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่ร้อยละ 90.9 ไม่เคยได้รับคำแนะนำการจัดการเบื้องต้น เกี่ยวกับการจดบันทึกเวลาที่เริ่มมีสัญญาณเตือน และร้อยละ 82.9 ไม่ทราบเบอร์โทรศัพท์ 1669 สำหรับติดต่อ รถฉุกเฉิน นอกจากนี้ พบว่าผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงระดับสูงมาก มีการรับรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือด สมองน้อยที่สุด จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือด สมองและการจัดการเบื้องต้นเมื่อมีสัญญาณเตือนแก่ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะกลุ่มที่มีระดับเสี่ยงสูงมาก โดย เน้นความรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนเรื่องการอ่อนแรงของร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง การจดบันทึกเวลาที่เริ่มมีอาการ และเบอร์โทรฉุกเฉิน ซึ่งการให้ความรู้ควรใช้สื่อโทรทัศน์ให้มากขึ้นเพราะเป็นช่องทางที่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการ รับรู้ข้อมูลมากที่สุด
Perceptions of Stroke Warning Signs among Risk Patients
Prapai Kittiboonthawal*
Siritorn Yingrengreung*
Supalux Srithanya*
Abstract
In Thailand, stroke has increased and the incident in Saraburi province ranked 7th of country. Promoting stroke warning signs awareness can reduce symptoms severity and positive treatment outcomes. This study explores stroke information perceptions among patient at risk of having stroke. Sample were 375 of multi-stage random sampling of patients age > 35 at risk of having stroke that received treatment from health promoting district hospitals in Saraburi. Data were collected by questionnaires. Participants were ages 36-88 years (mean = 59, SD = 10.27), senior (46%), female (70.9%), primary education 70.6%), married (67.4%). For stroke risk factors were high blood pressure (89%), and high cholesterol (52.4%), and obesity (49.2%). Participants were categorized into 3 groups according to the stroke risks screening: Very high risk group (3.2%), Moderate high risk group (53.5%), and High risk (43.3%). The top three channels used for dissemination of stroke information were TV (46.3%), public health staff (34.2%), and nurses (24.6 %). Finding indicated that 39.8% of overall patients at risk of stroke had received stoke warning signs information. Type of stroke warning sign information received from low to high were weakness at one side of the body (58.6%), face drop (70.6%), and slurred speech (73.3%). Moreover, 90.9% and 82.9% of patients did not know to keep recording time of stroke onset and to call 1669 for emergency, respectively. Patients in the very high risk group of having stroke were found to be the least that receiving stroke warning signs information. This study suggests that the dissemination of stroke warning signs information to patients at risk with stroke especially weakness at one side of the body, time onset recording and emergency telephone number should increase using TV channel for public education.
* Registered Nurse, Boromarajonani College of Nursing, Saraburi
Article Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้