การพัฒนารูปแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สถานการณ์และสภาพปัญหาในการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน 2) พัฒนารูปแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน และ
3) ประเมินผลรูปแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิระดับอำเภอเขตชนบท แบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ ผู้มีส่วนร่วมในการศึกษารวมทั้งสิ้น 73 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก แนวคำถามการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบแสดงความคิดเห็นถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงประเด็น ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติบรรยาย และสถิติทดสอบ paired sample t- test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ป่วยระยะสุดท้ายในบริการสุขภาพปฐมภูมิมีขีดจำกัดการเข้าถึงบริการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน และได้รับบริการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้านที่ขาดประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับบริการไม่ครอบคลุม และไม่เป็นไปตามมาตรฐานการดูแล 2) รูปแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้านที่พัฒนาขึ้น มี 3 ขั้นตอนคือขั้นแรกเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนให้บริการ ขั้นที่สองเป็นการให้บริการดูแลประคับประคองที่บ้าน และ ขั้นที่สามเป็นการติดตามและประเมินผล รูปแบบที่ได้มีความเหมาะสมเฉลี่ยร้อยละ 98.21 มีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติเฉลี่ยร้อยละ 95.25 3) การนำรูปแบบฯ ไปทดลองใช้กับผู้ป่วยระยะสุดท้ายในพื้นที่วิจัยพบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.05 นอกจากนี้ยังทำให้ประชาชนในพื้นที่บริการปฐมภูมิเข้าถึงบริการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน มีอัตราเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 51.39 เป็นร้อยละ 81.32
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้
References
Pokpalagon P. Palliative care model in Thailand. Nursing Journal of the Ministry of Public Health; 2019:40-51.(in Thai).
Phairojkul S. Quality standards for palliative care of patients Karunarak Center. 2nd ed. Khon Kaen: Klang Nana Witthaya Printing Plant LP;2018.(in Thai).
Chantanui K, Khunwong P, Chamnanborirak P. Development of palliative care model in Sisurat Community Mahasarakhom Province. Journal of Health Systems Research and Development.2017;10(2):292-8.(in Thai).
Connor S, Bermedo MS. Global atlas of palliative care at the end of life. Geneva Switzerland: World Health Organization and Worldwide Palliative Care Alliance;2014.
Stephen R, Claire M, Ernesto J, Richard H, James C, Barbara H, et al. Global atlas of palliative care. 2nd ed. London UK: World Health Organization and Worldwide Palliative Care Alliance;2020.
World Health Organization. Global atlas of palliative care. 2nd ed. Geneva Switzerland London UK: Worldwide Hospice Palliative Care alliance;2020.
Triket B. A Guide for the people palliative care. Bangkok: Sam Dee Printing Equipment Co Ltd published;2017.(in Thai).
Office of the National Health Commission (NHSO). Handbook for people to care for terminally ill patients palliative care. Bangkok: Media Creation;2013.(in Thai).
Office of the National Health Commission. Health provider handbook laws and practices related to hospice care. Bangkok: Sam Dee Printing Equipment;2017.(in Thai).
Nursing Division Ministry of Public Health. Palliative nursing care service system, Nonthaburi: Suetawan published;2016.(in Thai).
Rungutaisiri U. Development of a model of palliative care system with the participation of the community in Selaphum District, Roi Et Province. Journal of Public Health System Research 2008;2(2):1021-30.(in Thai).
Nuntachaipun P, Soiwong P. Clinical nursing practice palliative care in adult patients. Bangkok: Jood Thong;2015.(in Thai).
Athanyachaipong P. Palliative care guidelines. Nonthaburi: Department of Medical Services Ministry of Public Health;2015.(in Thai).5
Nursing Division Ministry of Public Health. Home health care home ward. 1st ed. Nonthaburi: Agricultural Cooperative Association of Thailand Printing;2013.(in Thai).
Lansak Hospital. Continuity care center performance report. Uthai Thani: Primary and Holistic Health Services Department;2020.(in Thai).
Mahdjoubi D. Four types of R&D. Texas: Research Associate, IC2 Institute;2009.
Wongcharoen W, Ratchadathanarat T, Somngam S. The development of palliative care system in home health care: a case study Pong Hospital Phayao Province. Journal of Disease and Health Risk DPC3 2020;14(2):26-37.(in Thai).
Nilmanat K, Udchumpisai M, Potjamanpong P, Niyomthai N. Continuing hospital-to-home palliative care: a southern Thai context. Thai Journal of Nursing Council 2019;34(2):76-93.(in Thai)
Nakanishi M, Ogawa A, Nishida A. Availability of home palliative care services and dying at home in conditions needing palliative care A population-based death certificate. SAGE Journal Palliative Medicine (Internet).2020[Cited 2020 January23]. Available: https://journals.sagepub.com/doi/full/ 10.1177/02692163 19896517
Nilmanat N, Sungkamuneejinda K. Caring for grieving patients with terminal cancer. Nursing Journal of the Ministry of Public Health. 2017:27(Special Issue);1–8.(in Thai).
Sae-hlee D, Namtassnee S, Thipthungthae S, SumamalT, Tunsuthepweravong C, Yana T. District health system (DHS). Bangkok: Public Health Administration Office, Office of the Permanent Secretary for Public Health;2014.(in Thai).