ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการตัดสินใจมารับการรักษา ของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน,FACTORS RELATED TO DECISION TIME FOR SEEKING TREATMENT IN PATIENTS WITH MYOCARDIAL INFARCTION

Main Article Content

วริษา กันบัวลา
นิภาวรรณ สามารถกิจ
ภาวนา กีรติยุตวงศ์

Abstract

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการตัดสินใจมารับการรักษา
ของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
*

วริษา กันบัวลา**

นิภาวรรณ สามารถกิจ***

ภาวนา กีรติยุตวงศ์****

บทคัดย่อ

               ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันถือเป็นภาวะวิกฤติฉุกเฉินที่คุกคามต่อชีวิต ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยที่ประสิทธิภาพของการรักษาขึ้นอยู่กับระยะเวลาการมารับการรักษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ การสนับสนุนทางสังคม ความรู้เกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กับระยะเวลาการตัดสินใจมารับการรักษาของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม และหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลชลบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 จำนวน 80 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน แบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ และแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์

สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียลและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
               ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 70 มีการสนับสนุนทางสังคมระดับสูง ( = 5.62, SD = 1.22) มีความรู้เกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันระดับปานกลาง
(Mean% = 56.60) มีระยะเวลาการตัดสินใจมารับการรักษาเฉลี่ยเท่ากับ 99.63 นาที (SD = 116.12) ค่ามัธยฐานเท่ากับ 60 นาที ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า เพศมีความ สัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับระยะเวลาการตัดสินใจมารับการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rpb = .24) การสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับระยะเวลาการตัดสินใจมารับการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.38) และความรู้เกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมีความสัมพันธ์ทางลบระดับต่ำกับระยะเวลาการตัดสินใจมารับการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.26)
               ผลการศึกษาครั้งนี้ บ่งชี้ว่าบุคลากรทีมสุขภาพควรมีการพัฒนาแนวทางการให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันแก่ประชาชนทั่วไป กลุ่มเสี่ยง และสมาชิกในครอบครัว  โดยครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และการจัดการเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ตัดสินใจมารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

คำสำคัญ: ระยะเวลาการตัดสินใจมารับการรักษา, เพศ, การสนับสนุนทางสังคม, ความรู้เกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

*วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
**พยาบาลวิชาชีพ นิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

***ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

****ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

 

FACTORS RELATED TO DECISION TIME FOR SEEKING TREATMENT IN PATIENTS WITH MYOCARDIAL INFARCTION*

Warisa Kanbuala**

Niphawa Samartkit***

Pawana Keeratiyutawong***

Abstract

            This descriptive correlational research study aimed to analyze the relationships among gender, perceived social support, knowledge of myocardial infarction and decision time for seeking treatment in patients with myocardial infarction. The sample consisted of 80 patients with myocardial infarction who were admitted to the medical department of Chonburi hospital during February and May, 2014. Data were collected by a demographic questionnaire and a decision time to seek treatment questionnaire. The Multidimensional Scale of Perceived Social Support (MSPSS) gave a reliability coefficient of 0.93 and the knowledge about myocardial infarction questionnaire adherence had a reliability coefficient of 0.78. Data were analyzed using descriptive statistic, Point biserial Correlation and Pearson’s product moment correlation.

               The results of the study showed that the sample had a high level of perceived social support ( = 5.63, SD = 1.22) and moderate level of knowledge about myocardial infarction (Mean% = 56.60). The sample had mean decision time for seeking treatment in patients with myocardial infarction of
99. 63 minutes (SD = 116.12) from onset. There was a significantly positive relationship between gender and decision time for seeking treatment in patients with myocardial infarction, with correlation coefficients of 0.24 (p < .05). There was a significantly negative relationship between perceived social support  and knowledge about myocardial infarction with decision time to seeking treatment in patients with myocardial infarction, with correlation coefficients of -0.38, -0.26 (p < 0.01 and p < 0.05), respectively.
               The study may be beneficial for nurse and health care teams to develop education program for patients, particularly those with heart disease risk – groups and families especially, by focusing on the causes of myocardial infarction, symptoms and management of symptoms of myocardial infarction, which would result in their appropriate decision time for seeking treatment.

 Keywords: Decision time for seeking treatment, Gender, Perceived social support, Knowledge of myocardial infarction, Patients with myocardial infarction

* Master Thesis Master of Nursing Science Program in Adult nursing, Faculty of Nursing Burapha University.

**Registered nurse, Master of Nursing Science Program in Adult nursing, Faculty of Nursing Burapha University.
*** Thesis Co-advisor: Assistant Professor, Ph.D, Faculty of Nursing Burapha University
.


   

Article Details

How to Cite
1.
กันบัวลา ว, สามารถกิจ น, กีรติยุตวงศ์ ภ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการตัดสินใจมารับการรักษา ของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน,FACTORS RELATED TO DECISION TIME FOR SEEKING TREATMENT IN PATIENTS WITH MYOCARDIAL INFARCTION. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2015 Feb. 6 [cited 2024 Apr. 27];24(2):21-36. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/30314
Section
บทความวิจัย
Author Biographies

วริษา กันบัวลา

วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา   

นิภาวรรณ สามารถกิจ

พยาบาลวิชาชีพ นิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา   

ภาวนา กีรติยุตวงศ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา