ประสิทธิผลของการใช้รอกต่อคุณภาพชีวิต การพัฒนาศักยภาพกล้ามเนื้อ และความพึงพอใจของผู้พิการทางกายและเคลื่อนไหว,Effects of Reel Utilization on Quality of Life, Muscle Potential Development, and Satisfaction of People with Disability

Main Article Content

บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ

Abstract

ประสิทธิผลของการใช้รอกต่อคุณภาพชีวิต การพัฒนาศักยภาพกล้ามเนื้อ

และความพึงพอใจของผู้พิการทางกายและเคลื่อนไหว

บำเพ็ญ  พงศ์เพชรดิถ* 

บทคัดย่อ

ในการสำรวจคนพิการทั่วประเทศจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2550 พบว่าประชากร 65.5 ล้านคนมีคนพิการ 1.9 ล้านคนมีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 1.8 ล้านคนผู้พิการส่วนใหญ่เป็นผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหวส่งผลต่อความไม่สามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้รอกต่อคุณภาพชีวิต การพัฒนาศักยภาพกล้ามเนื้อ และความพึงพอใจของผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหวโดยใช้รอกที่สามารถผลิตขึ้นใช้เองในชุมชนเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อของผู้พิการ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้พิการทางกายและการเคลื่อน ไหวระดับ 3 และ 4 ทั้งหมดในชุมชน จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยแจกแจงความถี่ค่าเฉลี่ยส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Pair T-test   

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 41-60 ปี แต่งงานแล้ว มีการศึกษาระดับประถมศึกษา และไม่ได้ประกอบอาชีพ คุณภาพชีวิตมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีโดยก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ย 3.64 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ย 3.71 ทั้งนี้มีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านร่างกายมากที่สุดทั้งก่อนและหลังการทดลอง (3.96 และ 4.03) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านความเป็นอิสระของบุคคลทั้ง ก่อนและหลังการทดลอง (3.21 และ 3.28) ศักยภาพกล้ามเนื้อก่อนและหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ย 4.25 และ 4.4 ตามลำดับ ความพึงพอใจหลังการทดลองอยู่ในระดับดีมีค่าเฉลี่ย 4.53  การเปรียบเทียบศักยภาพกล้ามเนื้อและคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.01

        ข้อเสนอแนะ ควรพัฒนาอุปกรณ์สำหรับผู้พิการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและครอบครัว เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการและนำความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหว

 

คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต, ผู้พิการ, รอก

*พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

 


Effects of Reel Utilization on Quality of Life, Muscle Potential Development, and Satisfaction of People with Disability

Bampen  Phongphetdit*

Abstract

In the Year B.E. 2550 the Office for National Statistics revealed that of the total population of 65.5 million, 1.9 million people had some forms of disability. A majority of the latter was physically disabled. This affects their ability to perform daily activities and increases dependency. This Quasi-Experimental Research was conducted to examine effects of reel utilization on quality of life, muscle potential development, and satisfaction of people with disability. These reels were produced in the community to help the people with disabilities to improve their muscle strength. The sample included 20 people with physical disability and mobility levels 3 and 4 in a community. The data were analyzed using frequency distribution, means and standard deviations were calculated and comparisons of pretest-post-test scores were made using paired t-tests.
        The results showed that the experimental group consisted of mostly females between 41-60 years old, were married, had graduated elementary school, and were unemployed. It was found that the mean score of quality of life was high and improved from 3.64 at the pretest to 3.71 at the posttest. The highest mean scores of quality of life were in the category of physical aspect, for both before and after the experiment (3.96 and 4.03) and the lowest scores were in the independence of individuals to movement both before and after the experiment (3.21 and 3.28). Muscle potential was also improved from 4.25 to 4.41. The satisfaction after the experiment was good with a mean score of 4.53. The significant differences were found for the comparison of the muscle potential and quality of life before and after the experiment (p<0.01).

Suggestion: Reels should be recommended for rehabilitation of people with physical disability.

 Key words: quality of life,   muscle potential development, reels and people with disability, people with disability.

 *Registered Nurse,Boromarajonnani College of Nursing ,Ratchaburi

   

Article Details

How to Cite
1.
พงศ์เพชรดิถ บ. ประสิทธิผลของการใช้รอกต่อคุณภาพชีวิต การพัฒนาศักยภาพกล้ามเนื้อ และความพึงพอใจของผู้พิการทางกายและเคลื่อนไหว,Effects of Reel Utilization on Quality of Life, Muscle Potential Development, and Satisfaction of People with Disability. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2015 Feb. 6 [cited 2024 Apr. 27];24(2):117-2. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/30325
Section
บทความวิจัย
Author Biography

บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี