การเจริญเติบโต พัฒนาการและภาวะสุขภาพเด็กปฐมวัยบ้านเด็กอ่อนรังสิต,Growth, Development and Health Status of Pre-SchoolAge Children at Rangsit Babies Home
Main Article Content
Abstract
การเจริญเติบโต พัฒนาการและภาวะสุขภาพเด็กปฐมวัยบ้านเด็กอ่อนรังสิต
สุชาดา ธนะพงศ์พร *
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาการเจริญเติบโต การพัฒนาการและภาวะสุขภาพของเด็กบ้านเด็กอ่อนรังสิต และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทั่วไป ภาวะโภชนาการ และภาวะสุขภาพ กับระดับการพัฒนาการของเด็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กบ้านเด็กอ่อนรังสิต อายุ 1 ถึง 6 ปี จำนวน 159 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจากเอกสารบันทึกพัฒนาการ ปัจจัยทั่วไป ภาวะสุขภาพ ภาวะโภชนาการ และสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กและแบบประเมินระดับพัฒนาการเด็กตามแบบ Denver II การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณาได้แก่ ค่าร้อยละ ทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ chi-square
ผลการวิจัยพบว่าเด็กบ้านเด็กอ่อนรังสิตส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 4-6 ปี มีปัญหาสุขภาพเล็กนอ้ยปัญหาสุขภาพที่พบได้แก่โรคภูมิแพ้ปากแหว่งเพดานโหว่ หูน้ำหนวก และทางเดินหายใจ มีประวัติการเจ็บป่วยอยู่ระหว่าง 3 ครั้งต่อปี พฤติกรรมของเด็กส่วนใหญ่เข้ากับคนอื่นได้ดี (98.1%) รองลงมา มีพฤติกรรมร่าเริง แจ่มใส (95.6%) ระดับการพัฒนาการของเด็กในแต่ละด้าน พบว่าด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคมด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและการปรับตัว และด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ปกติมากที่สุดแต่ด้านความเข้าใจและการใช้ภาษาอยู่ในเกณฑ์ล่าช้ามากที่สุด สำหรับพัฒนาการโดยรวมอยู่ในเกณฑ์สงสัยมากที่สุด ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการ พบว่าเพศมีความสัมพันธ์กับการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการเคลื่อนไหว และพัฒนาการโดยรวม ส่วนอายุมีความสัมพันธ์กับระดับพัฒนาการทุกด้านโดยทุกกลุ่มอายุมีความสัมพันธ์กับระดับพัฒนาการด้านต่างๆ ภาวะโภชนาการด้านนํ้าหนักมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการเคลื่อนไหว ภาวะโภชนาการด้านส่วนสูงมีความสัมพันธ์กับด้านสังคมและการช่วยเหลือตัวเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติท่รี ะดับ 0.05 ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวสามารถนำมาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
คำสำคัญ : การเจริญเติบโต พัฒนาการ ภาวะสุขภาพ เด็กปฐมวัย
* อาจารย์ประจำ กลุ่มวิชาการพยาบาลแม่และเด็ก มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
Growth, Development and Health Status of Pre-SchoolAge Children at Rangsit Babies Home
Suchada Thanapongporn *
Abstract
The purpose of this survey research study was to investigate growth, development and health status of pre-school age children at Rangsit Babies Home and the relationship between general factors, nutritional status, and health status of children with the level of development of pre-school-age children.
The sample consisted of 159 pre-school age children at Rangsit Babies Home. The instruments used in this study were the recording documents on development, general factors, nutritional status, and health status of children and the Denver II Developmental Assessment form. The statistics used to analyze the data were descriptive analysis and the Chi-square test.
The results showed that pre-school age children at Rangsit Babies Home was made up of more males than females, aged between 4 to 6 years, with minor health problems such as allergies, cleft lip and palate, otitis and respiratory tract problems. The frequency of illness was about three times a year, with more children getting on with others well (98.1%), followed by the cheerful behaviors (95%). The level of children development in the areas of self-help and society, the use of small muscles and the selfadaptation and use of the muscles in motion among the sample were normal, while the understanding and usage of language were generally delayed. Overall development of the samples was mostly in the suspect category. For factors related to the development, gender was found associated with the use of muscles in movement, overall, age was also related to the development of all aspects. Nutritional status of body weight was correlated with the development of the large muscles used for motion. Nutritional status of body height was related to the social aspect and self reliance (p<0.05). These findings can be used to develop activities to promote the child development.
Keywords : Growth, Development, Health status, pre-school age children,
* Nurse Instructor, Faculty of Nursing, Eastern Asia University.
Article Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้