ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค

Main Article Content

แสงเดือน กิ่งแก้ว
นุสรา ประเสริฐศรี

Abstract

บทคัดย่อ

      การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป จำนวน 129 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน ก.ย.2557-มี.ค.2558 โดยแบบสอบถามความฉลาดทางสุขภาพและแบบสอบถามการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าความเที่ยงของเครื่องมือ Cronbach’s alpha coefficient 0.89, และ 0.66 ตามลำดับ แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคและการรักษามีค่า KR 20 เท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย     ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไควแสควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความฉลาดทางสุขภาพในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 68.2 เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล คือ สถานภาพสมรส (x2= 7.59;p= <.05) มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมมีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =.462;p= <.01) ผลการศึกษานี้ใช้เป็นข้อมูลในการเลือกให้ข้อมูลสุขภาพ ตามระดับความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีลักษณะส่วนบุคคลแตกต่างกัน

คำสำคัญ :  ความฉลาดทางสุขภาพ; พฤติกรรมสุขภาพ; ผู้สูงอายุ; โรคเรื้อรัง

*วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี ; อีเมล์ติดต่อ : sangduan70@gmail.com

 

The Relationship between Health Literacy and Health Behaviors among Older Adults who have Multi-morbidity

Sangduan Ginggeaw*, Nusara Prasertsri*

Abstract

      This study aimed to investigate the relationship between Health Literacy (HL) and health behaviors among older adults who have multiple chronic conditions. The samples were 129 older adults who had ≥2 chronic diseases. Data were collected from September 2014 to March 2015, using structured questionnaires. The instruments were health literacy (HL), and health behaviors questionnaires with Cronbach’s alpha coefficients of 0.89, 0.66 respectively. The KR 20 of 0.81 was obtained for the knowledge of disease and treatment instrument. The data were analyzed using descriptive statistics, Chi-square, and Spearman’s correlation. The findings reveal that 68.2% had moderated HL. Significant relationships were observed between HL and marital status (x2 = 7.59; p = <.05) , and health behaviors (r = 0.462; p = <0.01). The findings suggest that healthcare providers should select appropriate health information for older adults who have different levels of HL.

Keywords  : health literacy; health behaviors; older adult; multi-morbidity

*Boromarajonnani College of Nursing, Sanpasithiprasong ; e-mail : sangduan70@gmail.com

Article Details

How to Cite
1.
กิ่งแก้ว แ, ประเสริฐศรี น. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2016 Mar. 3 [cited 2024 Dec. 18];25(3):43-54. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/47244
Section
บทความวิจัย