ผลของการแสดงบทบาทสมมุติตุ๊กตาประดิษฐ์ต่อความกลัว ของเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ

Main Article Content

สมสมร เรืองวรบูรณ์
สุชาดา ปราบมีชัย

Abstract

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความกลัวของเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับสารนํ้าทางหลอดเลือดดำระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม  กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยก่อนเรียน จำนวน 60 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง กลุ่มละ 30คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลบุคคล และแบบสังเกตพฤติกรรมความกลัว ค่าความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.8 และได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบไคสเควร์และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า

       คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความกลัวจากการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่ากลุ่มควบคุม ในระดับไม่มีพฤติกรรมความกลัวหรือกลัวเล็กน้อย  ( \bar{x} = 10.8, S.D. = 1.63) และกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมีพฤติกรรมความกลัวมาก (  \bar{x} = 18.5, S.D. = 3.83)

            ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้นำการแสดงบทบาทสมมุติตุ๊กตาประดิษฐ์มาใช้พัฒนาปรับปรุงการ เตรียมความพร้อมเด็กในการลดความกลัวก่อนปฏิบัติการพยาบาลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และส่งเสริมการใช้นวัตกรรมในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น

คำสำคัญ: ความกลัว; เด็กวัยก่อนเรียน; การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ; บทบาทสมมุติ 

*วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม ; อีเมล์ติดต่อ : greenhouse_2519@hotmail.com

The Effect of Role Play with The Invented  Doll

on Fear from Intravenous Fluid Infusion in Pre-school Children

Somsamorn  Rueangworaboon*

SuchadaPrabmeechai*

Abstract

       This study used a quasi-experimental approach to examine the effect of role play with the Invented Doll on fear from intravenous fluid infusion in pre-school children. The sample consisted of 60 pre-school children ranging from 3 to 6 years of age and was selected by purposive sampling and separated into experimental and control groups of 30 children each. Data were collected by questionnaires and a fear behavior observation scale. Content validity was approved and reliability coefficients of the Fear Behavior Observation Scale recording were 0.8 and 0.88, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, mean, standard deviation, chi-square and independent t- test.

       The results revealed that the fear behavior mean score of intravenous fluid infusion of the children in the experimental group and that of the control group were significantly different (p<0.001). The average score in the experimental group was less than that of the control group; where the fear behavior mean score was at a low level  ( \bar{x}  = 10.8, S.D. = 1.63) in the experimental group and at a high level
(  \bar{x}  = 18.5, S.D. = 3.83) in the control group.

       The research findings suggest that role play with the Invented Doll is effective for preparing the            pre-school children to reduce fear from intravenous fluid infusion and improve quality of nursing care.

keywords : Fear; Pre-schoolchildren; Intravenous fluid infusion; role play

*Boromarajonnani College of Nursing, NakhonPhanom, Nakhonphanom University. ; e-mail : greenhouse_2519@hotmail.com

Article Details

How to Cite
1.
เรืองวรบูรณ์ ส, ปราบมีชัย ส. ผลของการแสดงบทบาทสมมุติตุ๊กตาประดิษฐ์ต่อความกลัว ของเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2016 Mar. 3 [cited 2024 Apr. 18];25(3):144-55. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/47281
Section
บทความวิจัย