พฤติกรรมสุขภาพของสตรีวัยทองในเขต อ.เมือง จ.นครราชสีมา

Main Article Content

ฉัตรทอง จารุพิสิฐไพบูลย์
ณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย
วรรณา ธนานุภาพไพศาล
จงกลนี ตุ้ยเจริญ

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมสุขภาพของสตรีวัยทอง  ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา  กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นสตรีที่มีอายุในช่วง 40-59 ปี ที่อาศัยในเขต อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา  จำนวน 300 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์  ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2553  ถึงวันที่  20  กุมภาพันธ์  2554 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามคำนวณโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ เท่ากับ   0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่  และร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมสุขภาพของหญิงวัยทองในด้านการรับประทานอาหาร การนอน  สุขอนามัยส่วนบุคคล สุขภาพจิตและความเครียด สุขภาวะของครอบครัว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่เหมาะสม ยกเว้นด้านการออกกำลังกาย และสุขภาพทางเพศ ส่วนด้านความรู้ของสตรีวัยทองยังขาดความรู้ในเรื่องของฮอร์โมนเพศหญิงที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

จากผลการวิจัยที่ได้จะนำไปใช้ในงานบริการวิชาการแก่สังคม โดยการนำข้อมูลไปประกอบการวางแผนทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพสตรีก่อนและหลังวัยหมดประจำเดือน  และเผยแพร่ความรู้เรื่องสตรีวัยทองในกลุ่มที่เริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลแต่แรกเริ่ม  เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสตรีวัยหมดประจำเดือนที่เกิดขึ้นและให้หญิงวัยทองมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

คำสำคัญ: พฤติกรรมสุขภาพ, สตรีวัยทอง

 

Abstract

The purpose of this study was to explore the health behaviors of changes during menopause women in Nakhon Ratchasima district, Thailand. The participants for the study comprised 300 women aged 40 – 59 years.  Questionnaires were used to collect the data. The study was undertaken from October 2010 to February 2011. The research instruments were a demographic and a health behavior questionnaire. The Cronbach’s alpha coefficient of health behavior questionnaire was 0.91. Data was analyzed by descriptive statistics such as frequencies and percentages.

The study found that the health behaviors that menopausal women deemed appropriate and expected changes were in the following categories: eating habits, sleep pattern, personal hygiene, mental health and stress, and family wellbeing. However, exercise and sexual health were considered inappropriate health behaviors. The results also showed that menopausal women lacked knowledge of the affects of hormonal changes   on their bodies.  The findings suggest that healthcare professionals can use the data to plan health promotion activities for pre–menopausal and menopausal women, and to teach women between the time of fertility and menopause to recognize and anticipate the menopausal changes which could increase their quality of life.

Key word :  Health behaviors , menopause, Thailand

 

Article Details

How to Cite
1.
จารุพิสิฐไพบูลย์ ฉ, จันทรโณทัย ณ, ธนานุภาพไพศาล ว, ตุ้ยเจริญ จ. พฤติกรรมสุขภาพของสตรีวัยทองในเขต อ.เมือง จ.นครราชสีมา. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Jan. 8 [cited 2024 Apr. 19];22(3):39-50. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/4747
Section
บทความวิจัย