อัตลักษณ์ ประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติของบัณฑิตที่สำเร็จตามโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

วิไลพร รังควัต
กนิษฐา ปิ่นสุวรรณ
ศุภิสรา สุวรรณชาติ
วิกานดา ศรีภูมิพฤกษ์
ชนัฎฎา มันสีชุม

Abstract

บทคัดย่อ

รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่ม เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปีการศึกษา 2550 และเมื่อสำเร็จการศึกษากลับไปปฏิบัติงาน ในภูมิลำเนาเดิม ทางวิทยาลัยจึงได้มีการดำเนินงานติดตามบัณฑิต ด้วยการทำวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ ใน 3 ประเด็นดังต่อไปนี้ 1) ประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว 2) ประโยชน์ต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติ 3) อัตลักษณ์ของบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างได้แก่บัณฑิตที่สำเร็จตามโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่ม, ผู้ปกครองของบัณฑิต, หัวหน้างานและผู้ป่วยที่มารับบริการ กลุ่มละ 13 คน โดยใช้การสัมภาษณ์ การบันทึกด้วยตนเองและการตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า

1. ประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว; บัณฑิตได้มีอาชีพที่มั่นคงมีคนนับถือ  เป็นเกียรติแก่ครอบครัว  และความรู้ที่ได้เรียนมาทำให้รู้วิธีดูแลสุขภาพตนเอง  ป้องกันตนเองและคนในครอบครัวจากโรคภัยไข้เจ็บ  รวมทั้งทำให้เกิดความภาคภูมิใจที่ได้ดูแลคนในพื้นที่


2. ประโยชน์ต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติ; มีพยาบาลวิชาชีพเพิ่มจำนวนขึ้น  ที่ช่วยดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ได้ทั่วถึง  และทำให้หน่วยงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีพยาบาลวิชาชีพประจำ ทำให้น่าเชื่อถือได้ ตอบสนองนโยบายของชาติ รวมทั้งพบว่าพยาบาลวิชาชีพจากโครงการฯ  ทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อถือเจ้าหน้าที่ของรัฐมากขึ้น


3. อัตลักษณ์ของบัณฑิต; ผู้ปกครอง ผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต รวมถึงผู้ป่วยที่อยู่ในความดูแลของบัณฑิตให้ข้อมูลการประเมินบัณฑิตคือ ปฏิบัติงานดี  มีวินัยและเข้าใจความเป็นมนุษย์

 

 

คำสำคัญ: บัณฑิตพยาบาล, อัตลักษณ์, ประโยชน์ต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติ

 

Abstract

For the past two decades the southernmost Thai provinces bordering Malaysia has been experiencing political and religious tensions. Because of this tension newly graduated nurses are reluctant to work in these provinces. This Government supported study explored why some nurses choose to work in these provinces.

The qualitative study aimed to study; 1) the benefits for graduate nurses and their families 2) the national benefits and 3) the new graduate’s identity. The 13 participants in each group of the new graduate nurses, their parents, their chief nurses and their patients were the sample. Data was collected by interview and, self-recorded questionnaire. Data was analyzed by using content analysis. The results of this research were found as following;

1. The benefit for graduate nurses and families; The graduate nurses were honor, ignity, and  professional pride. Their parents viewed  nursing as a great career. Moreover, the graduate nurses take care of their family members.


2. The benefit for communities, and country; The result from this “Solving the Shortage of Nurses in the Southern Border Area of Thailand project” provided professional nurses to look after the people in the southern border areas. Professional nurses were in every Tambon Health Promoting Hospitals that made these hospitals more acceptable. It also might improve health care for the people. The benefit of the country was the young people in the southern part of Thailand had more positive attitude toward the Government.


3. The analysis of the narrative result of an identity in three perspectives ; “best practice by having patient-centered care”, “to be disciplined”, and “humanistic care”.

Keywords: the benefit for graduate nurses and families, the benefit for communities, and country, new graduate identity.

 

Article Details

How to Cite
1.
รังควัต ว, ปิ่นสุวรรณ ก, สุวรรณชาติ ศ, ศรีภูมิพฤกษ์ ว, มันสีชุม ช. อัตลักษณ์ ประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติของบัณฑิตที่สำเร็จตามโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Jan. 8 [cited 2024 Dec. 23];22(3):51-63. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/4751
Section
บทความวิจัย