รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลพุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

สุมาลี เอี่ยมสมัย
รัตนา เหมือนสิทธิ์
จรูญศรี ทองมาก

Abstract

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันตำบลพุกร่างมีอัตราการพึ่งพิงวัยสูงอายุต่อผู้ที่อยู่ในวัยทำงานเพิ่มขึ้นและมีผู้สูงอายุ ที่อยู่ตามลำพังไม่มีคนดูแลจึงศึกษารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลพุกร่าง ขึ้นเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลพุกร่าง  อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี  2) หาประสิทธิภาพของรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลพุกร่าง   อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี  ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2555 ประชากรที่ศึกษาได้แก่ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว หรือมีปัญหาโรคเรื้อรังและไม่มีผู้ดูแลในเขตเทศบาลตำบลพุกร่าง จำนวน 17 คน และอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลพุกร่าง จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสำรวจการดูแลผู้สูงอายุ ความต้องการดูแลผู้สูงอายุ ความคิดเห็นและศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลพุกร่างอำเภอพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแลจากอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลพุกร่างอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าสถิติคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test, One way ANOVA และ Content  analysis

ผลการวิจัยพบว่า อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุต้องการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลพุกร่างภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̄= 3.84,  S.D.= 0.53) อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความคิดเห็นและศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลพุกร่างภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̄=  3.25,  S.D.=  0.61) อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุไม่มีความมั่นใจในการดูแลหรือให้คำแนะนำผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการแนะนำ วิธีการให้ความรู้ เอกสารและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งพี่เลี้ยงเพื่อเป็นที่ปรึกษา รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุ คือ SINGTONG  MODEL  ประกอบด้วย  Superintendent , Individual , Network , Government , Team   Organization , Nice  , Group Home การดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุแต่ละครั้งมีการดำเนินการ 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นวางแผน 2) ขั้นปฏิบัติการ 3) ขั้นสังเกต 4) ขั้นสะท้อนผล 5) ขั้นปรับปรุง ผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแลมีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̄=4.36 ,S.D.=0.63)อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความคิดเห็นและศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̄=  3.95 ,  S.D.=  0.64) ความคิดเห็นและศักยภาพของอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุในการดูแลผู้สูงอายุก่อนและหลังใช้รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

คำสำคัญ: อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุ , การดูแลผู้สูงอายุ

 

ABSTRACT

The objective of this research was to study an Elderly Care Model in caregiving- volunteers at Phukrang municipality, Amphur Praputthabat, Saraburi Province. The effectiveness of the elderly care  volunteers who care for the elderly. This research was an action research consisted of 3 phases. The first phase was  studying the context of caring in elderly by interviewing and group discussions among 46 caregiving- volunteers. The second phase was developing an elderly care model. The third phase was exploring effectiveness of the model. Elderly’s satisfaction was examined. Data were analyzed by using Mean, Standard Deviation, and pair t-test.  Content analysis also was performed.

The research findings found that: A context of elderly caring among

Among volunteers, 69.6 percent reported that elderly had no relatives, and volunteers visited them twice a month. Among volunteers, 37.0 percent reported that elderly had no family member, and volunteers usually took them some diet. Among volunteers, 43.5 reported that elderly were invaluable and they were taken care.  Among volunteers, 41.3 percent would like to take care of elderly in a high level (X̄= 3.84, SD = 0.53), have ability to care elderly in a moderate level (X̄= 3.25, SD = 0.61).  The analysis of the context of elderly care was explored.  It found that volunteers who passed the training should have elderly-care knowledge. The mentor of volunteers had no confidence to advise.

The elderly care model among volunteers was SINGTONG  MODEL including   Superintendent, Individual,   Network,  Government,  Team,   Organization,  Nice,   and Group.   The elderly care model consisted of 5 major components: 1) planning,  2) implementing, 3)  observing,  4) reflecting and 5) improving.

The results of using the final model were elderly showed overall satisfaction in a high level (X̄=  4.36 ,  S.D.=  0.63) . Caregiving - volunteers showed opinion and ability to care elderly in a high level (X̄=  3.95 ,  S.D.=  0.64) . Among volunteers, the mean score of opinion and ability to care elderly after participating in the model was significantly higher than before participating in the model at the level of 0.001.

Key words: Elderly Care , volunteers

 

Article Details

How to Cite
1.
เอี่ยมสมัย ส, เหมือนสิทธิ์ ร, ทองมาก จ. รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลพุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Jan. 8 [cited 2024 Dec. 23];22(3):77-8. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/4755
Section
บทความวิจัย