ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

จีราพร ทองดี
ดาราวรรณ รองเมือง
ฉันทนา นาคฉัตรีย์

Abstract

บทคัดย่อ

 

วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายไปในทางที่เสื่อม ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตต่อผู้สูงอายุ และเป็นที่ทราบกันดีว่าผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิต ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น  นอกจากนี้ยังต้องประสบกับเหตุการณ์ความไม่สงบต่างๆ และอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขต 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้สูงอายุจำนวน 727 คน ร้อยละ 61 เป็นเพศหญิง (443 คน) ร้อยละ 39 เป็นเพศชาย (284 คน) อายุเฉลี่ย 71 ปี (range = 63-86, SD = 9.93) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ 78.6 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามภาวะสุขภาพ และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนาและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุ ร้อยละ 70 ป่วยด้วยโรคเรื้อรังอย่างน้อยหนึ่งโรคต่อคน โรคที่พบบ่อยได้แก่ ความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 34.5 เบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 6.9 โรคหัวใจ คิดเป็นร้อยละ 1.5 และ ไตวายเรื้อรัง คิดเป็นร้อยละ 1.5 ปัญหาสุขภาพที่พบส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น คิดเป็นร้อยละ 58 ผิวหนังแห้งและมีผื่นคัน คิดเป็นร้อยละ 39.90 การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ คิดเป็นร้อยละ 30 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 59.1  ( = 85.70, range = 44-117, SD = 1.27) และ 51.60 ( = 90.60, range = 43-119, SD = 12.3) ตามลำดับ โดยคุณภาพชีวิตมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับภาวะสุขภาพ (r = .77, p < .01) ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้คือบุคลากรในทีมสุขภาพ ตลอดจนผู้ที่มีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ ควรมีส่วนร่วมในการวางแผนจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่เหมาะสมกับบริบทของวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะหลักศาสนาซึ่งเป็นปัจจัยป้องกันที่สำคัญเฉพาะในผู้สูงอายุกลุ่มนี้ ดังนั้นการใช้หลักศาสนานำสุขภาพในผู้สูงอายุ การบูรณาการความรู้เรื่องศาสนาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง  อาจมีผลช่วยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี

คำสำคัญ ภาวะสุขภาพ, คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ, จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

Abstract

Physical decline in the elderly may increase the risk of chronic disease and affect their quality of life. It is well known that the elderly living in the Southern border provinces of Thailand have a different social culture, beliefs, lifestyle, custom and tradition different from those the other regions. Moreover, they have experienced  the  unrest  and unsafe situation. The purpose of this study was to examine the relationship between health status and quality of life among the elderly in the Southern border provinces of Thailand (Songkhla, Satun, Yala, Pattani, and Narathiwat provinces)

Total sample of 727 elderly were recruited. There were 443 women (61%) and 284 men (39%). The mean age was 71 years (range = 63-86, SD = 9.93). Islam is the dominant religion (76.6%). The data were collected using a structured demographic questionnaire, Health Status Questionnaire, and Elderly Quality of Life Index. Frequencies , percentages, means, standard deviation, and a Pearson product-moment correlation coefficient were analyzed.

The results revealed that 70 percent of the elderly have at least one chronic illness. The most common chronic illnesses including hypertension (34.5%), diabetes mellitus (6.9%), heart disease (1.5%), chronic kidney disease (1.5%). The most common health problems included visual problems (58%), dry and itchy skin (39.9%), and bladder control problems (30%). Most of the elderly have moderate health status (59.1%) and quality of life (51.6%) (= 85.7, range = 44-117, SD = 1.27 and  = 90.6, range = 43-119, SD = 12.3), respectively. Quality of life had a positive relationship with health status (r = .77, p <.01).

These findings suggested that the health care providers and caregivers of the elderly should participate in chronic illness prevention and planning health promotion activities which appropriate with cultural context. Fostering the potential protective factors among this group, specifically from the perspective of cultural and religious integration, to promote healthy behaviors to improve health status and quality of life.

Keyword : Health Status, Quality of Life among the Elderly, Muslim, the Southern Border Provinces of Thailand

 

Article Details

How to Cite
1.
ทองดี จ, รองเมือง ด, นาคฉัตรีย์ ฉ. ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Jan. 8 [cited 2024 Nov. 22];22(3):88-99. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/4758
Section
บทความวิจัย